หน้าหลัก |► ธรณีวิทยาและการอนุรักษ์ | 2 ธรณีวิทยาและการอนุรักษ์ |► 2.4 ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในอุทยานธรณีโลกสตูล |
ธรณีวิทยาและการอนุรักษ์

 
ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในอุทยานธรณีโลกสตูล

ซากดึกดำ บรรพ์ที่พบในอุทยานธรณีโลกสตูลพบในมหายุคพาลีโอโซอิก เช่น ไทรโลไบต์ นอร์ติลอยด์ แกรฟโตไลต์ แอมโมนอยด์และในมหายุคซีโนโซอิก เช่น ฟันช้างสเตโกดอน ฟันช้างเอลิฟาส ฟันแรดและดังรายละเอียดต่อไปนี้



๑. ไทรโลไบต์ (Trilobite)

    ไทรโลไบต์ มีลำตัวที่แบ่งเป็นปล้อง มีหนามตามตัว ซึ่งอาจจะใช้ยึดเหนี่ยวกับพื้นทะเล และเป็นเครื่องช่วยพยุงน้ำหนักตัว อาศัยตามพื้นทะเลเขตน้ำตื้น โดยทั่วไปมีขนาด ๕๐ - ๗๕ มิลลิเมตร แต่บางชนิดอาจเล็กกว่า ๑๐ มิลลิเมตร ในประเทศไทย พบฟอสซิลไทรโลไบต์ที่เป็นชนิดใหม่ของโลกไม่ต่ำกว่า ๒๐ ชนิด ในเขต ๓ จังหวัดตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนปลายจากแหล่งเกาะตะรุเตา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จนถึงยุคเพอร์เมียน จากแหล่งอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย นอกจากนี้ยังพบในยุคดีโวเนียนตอนกลางเขตอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงอีกด้วย


 

ภาพ ไทรโลไบต์

. สโตรมาโตไลต์ (stromatolite)

   สโตรมาโตไลต์ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในโลก พบเป็นฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่ถึง ๓,๕๐๐ ล้านปีก่อนในหินบรมยุคอาร์เคียน เกิดจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายไซยาโนแบคทีเรีย (เดิมเรียกว่าสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว) เกิดได้เฉพาะบริเวณขอบทะเลที่มีน้ำอุ่น เคยมีการแพร่ขยายตัวมาก เมื่อ๑,๒๕๐ ล้านปีก่อน และลดปริมาณลงเหลือเพียง ๑/๕ ส่วน เมื่อเข้าสู่ยุคแคมเบรียน (๕๔๐ ล้านปีก่อน) ปัจจุบันเหลือปรากฏให้เห็นอยู่น้อย แหล่งสำคัญของฟอสซิลสโตรมาโตไลต์ คือ ในออสเตรเลียตะวันตกบราซิล และทางเหนือของประเทศเม็กซิโกในประเทศไทยคาดว่า พบฟอสซิลสโตรมาโตไลต์เป็นแห่งแรกในหมวดหินป่าแก่ กลุ่มหินทุ่งสง ในเขตตำ บลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า และในหมวดหินควนทัง กลุ่มหินทองผาภูมิในเขตอำเภอทุ่งหว้า-ละงูจังหวัดสตูล ทั้ง ๒ หมวดหินมีอายุอยู่ในยุคออร์โดวิเชียนตอนปลาย ถึงตอนกลางของยุคดีโวเนียนหรือประมาณ ๔๔๐ - ๓๘๐ ล้านปีก่อน โดยมีลักษณะเป็นหินปูนสีแดงที่ก่อตัวจากสโตรมาโตไลต์ ทำ ให้ตอนบนของชั้นหินมีลักษณะเป็นรอยคลื่นและมีรอยแตกบนหลังชั้นหินเป็นตาข่าย คล้ายรอยระแหงบนหินโคลน

ภาพ ฟอสซิลสโตรมาโตไลต์ที่พบในหมวดหินป่าแก่ บ้านทุ่งเสม็ด ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

 . หอยแบรคิโอพอด (Brachiopod)

     หอยแบรคิโอพอด เป็นหอยที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเลเกือบทั้งหมด มีส่วนน้อยที่อยู่ในน้ำกร่อย และไม่พบในเขตน้ำจืด อาศัยอยู่ได้ทั้งบริเวณน้ำตื้นและน้ำลึกของบริเวณไหล่ทวีปจนถึงเขตน้ำกร่อย คาดว่าเริ่มเกิดมาตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบรียน และมีจำนวนมากขึ้น ในช่วงตอนต้นของมหายุคพาลีโอโซอิก และลดจำนวนลงในตอนปลายมหายุค คงเหลือไม่กี่พวกในยุคต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะหอยแบรคิโอพอด ประกอบด้วยฝาสองฝา ที่มีขนาดไม่เท่ากัน มักเรียกว่าหอยตะเกียง (Lamp shell) เพราะรูปร่างคล้ายตะเกียงโบราณ ฝาด้านที่มีขนาดใหญ่กว่ามีรูเปิด ซึ่งเป็นส่วนที่ยึดกล้ามเนื้อที่ยื่นออกมาเพื่อช่วยในการเกาะติดกับพื้นทะเลที่เป็นวัตถุแข็ง เช่น หิน เปลือกหอย ปะการัง หรือเศษ วัตถุต่าง ๆ พบในจังหวัดสตูล



ภาพ ฟอสซิลแบรคิโอพอด ที่พบในบริเวณอำเภอละงู จังหวัดสตูล

. แกรปโตไลต์ (Graptolite)

   แกรปโตไลต์ จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์กึ่งสัตว์มีกระดูกสันหลัง (Hemicordate) และสูญพันธุ์แล้วเป็นสัตว์ทะเลอยู่กันเป็นกลุ่ม ล่องลอยตามกระแสน้ำ จึงทำ ให้พบเป็นจำนวนมาก และแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ทั้งยังมีอยู่ในช่วงเวลาทางธรณีที่สั้น จึงเป็นฟอสซิลดัชนีได้ดี แกรปโตไลต์มักสะสมตัวเป็นซากในท้องทะเลลึกที่ไม่มีซากสิ่งมีชีวิตอื่นร่วม ในสภาพที่มีออกซิเจนน้อย มีส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งบริเวณทะเลตื้นสำหรับชื่อ “grapto” มาจากภาษากรีก หมายถึง “การเขียน” ส่วน “lite” หมายถึง “หิน” ทั้งนี้เพราะฟอสซิลที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายรอยพิมพ์บางๆ อยู่บนหินดินดานสีดำ หินเชิรต์หรือหินชนวน เหมือนรอยเขียนด้วยดินสอบนหิน หรือมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ เป็นฟอสซิลที่พบมากในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้นโดยเฉพาะในยุคออร์โดวิเชียน ไซลูเรียนและดีโวเนียน ยุคต่อมาจะมีจำนวนน้อยลง และสูญพันธุ์ในยุคเพอร์เมียน

      ลักษณะของแกรปโตไลต์ ส่วนที่เป็นฟอสซิล คือ ส่วนแข็งที่มีโครงสร้างเป็นท่อหรือหลอดกลวง

(tube) อยู่อย่างเป็นระเบียบและเป็นที่อยู่ของเนื้อเยี่อและเป็นส่วนที่ทำ ให้มันลอยตัวได้ อำเภอละงู จังหวัด

สตูล มี ๖ ชนิด



ภาพ ฟอสซิลแกรปโตไลต์ ที่พบในบริเวณอำเภอละงู จังหวัดสตูล

 ๕. นอติลอยด์ (Nautiloid)

     นอติลอยด์ เป็นสัตว์ทะเลจำพวกหอย แต่อยู่ในพวกหอยเซฟาโลพอด หรือพวกเดียวกับปลาหมึกและหอยงวงช้าง เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ดี เคลื่อนที่ได้เร็ว มีอวัยวะส่วนอื่น โดยเฉพาะตาที่มีวิวัฒนาการ และการพัฒนาไปได้มาก จึงเป็นกลุ่มสัตว์นักล่าในทะเล โดยกำ เนิดตั้งแต่ยุคแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่สูญพันธุ์หมดแล้ว เหลือเพียงหอยงวงช้างชนิดเดียว และคำว่า “Nautiloid” มาจากคำว่า Nautilus หรือหอยงวงช้าง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

           ลักษณะของนอติลอยด์ มีเปลือกหอยแตกต่างจากหอยงวงช้างมาก เพราะจะเป็นแท่งตรงคล้ายกรวย โดยเฉพาะพวกที่อยู่ในยุคแคมเบรียนกับออร์โดวิเชียน แต่บางครั้งอาจพบขดเป็นวง มีลวดลายบนเปลือกซึ่งเกิดจากผนังแบ่งห้องต่อกับเปลือกเป็นแบบง่าย ๆ ซึ่งจะพบตั้งแต่ยุคออร์โดวิเชียนเป็นต้นมา ในประเทศไทย นอติลอยด์ เป็นฟอสซิลขนาดใหญ่กลุ่มเดียวที่สามารถจำแนกได้ดีในหินคาร์บอเนตยุคออร์โดวิเชียนหรือในหินปูนกลุ่มหินทุ่งสง โดยพบในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดสตูล นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี นอกจากนั้น ยังมีพบในยุคเพอร์เมียนตอนปลายที่จังหวัดลำปาง
         ในจังหวัดสตูล แหล่งที่พบ คือ เกาะตะรุเตา อำเภอละงูและอำเภอทุ่งหว้า โดยที่เกาะตะรุเตานอติลอยด์ที่มีอายุมากที่สุด คือ สกุล Endoceras ส่วนสกุลที่อายุน้อยกว่า คือ Orthoceras, ardmanoceras,Ormoceras, Actinoceras

          
 

ภาพ ฟอสซิลนอติลอยด์ ที่พบในบริเวณอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

๖. แอมโมนอยด์ (Ammonoid)

      แอมโมนอยด์ เป็นสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์หมดแล้ว และเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับหอย หมึกและหอยงวงช้าง มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคดีโวเนียนถึงครีเทเชียส ถือเป็นฟอสซิลดัชนี เพราะมีวิวัฒนาการที่เร็ว มีจำนวนมากและพบทั่วโลก จึงมีคุณค่าสูงในการลำดับชั้นหิน โดยเฉพาะในมหายุคมีโซโซอิก จะมีการวิวัฒนาการของลายเส้นบนเปลือกที่ซับซ้อนมากขึ้นและขนาดที่ใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในยุคครีเทเชียสพบว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า ๒ เมตร ลักษณะของแอมโมนอยด์ มีเปลือกค่อนข้างหนา ขดเป็นวง และมีสิ่งประดับบนเปลือก เช่น ปุ่ม สันและหนาม เพื่อปรับให้เข้ากับที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีทั้งชนิดที่ลอยตามกระแสน้ำ ว่ายน้ำ หรืออาศัยบนพื้นทะเล ลักษณะเด่นของสัตว์กลุ่มนี้ คือ ตำ แหน่งของท่อที่เชื่อมต่อแต่ละห้องของเปลือกหอยจะอยู่บริเวณขอบของเปลือก และลวดลายบนเปลือกซึ่งเกิดจากรอยเชื่อมของผนังห้องกับเปลือกจะซับซ้อนมาก ชื่อ “Ammonoid” มาจากชื่อเทพเจ้า “Ammon” ของอียิปต์ ในประเทศไทย พบแอมโมนอยด์ในหินดินดานและหินปูน โดยชนิดใหม่ที่อยู่ในยุคเพอร์เมียน พบที่จังหวัดเลย ลำปาง และจังหวัดตาก ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส พบที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในหมวดหินป่าเสม็ด ของกลุ่มหินทองผาภูมิ และจัดอยู่ในสกุล Goniatites


ภาพ ฟอสซิลแอมโมนอยด์ ที่พบในบริเวณอำเภอละงู จังหวัดสตูล

. ปะการัง (Coral)

     ปะการัง เป็นสัตว์ทะเลในไฟลัมไนดาเรีย ซึ่งประกอบด้วย ไฮดรา แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล และปะการัง มีทั้งที่อยู่เป็นกลุ่มและเป็นตัวเดี่ยวๆ มีเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยสารแคลเซียมคาร์บอเนต ปะการังที่ช่วยสร้างแนวปะการัง จะอาศัยอยู่บริเวณน้ำตื้นซึ่งลึกน้อยกว่า ๙๐ เมตร น้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ ๒๐ – ๒๕ องศาเซลเซียส มีแสงแดดส่องถึงและน้ำค่อนข้างใส ฟอสซิลปะการังพวกนี้จึงพบได้ทั่วไปในภูเขาหินปูน ส่วนปะการังบางชนิดไม่ช่วยสร้างแนวปะการัง จะอาศัยอยู่ในเขตหนาวเย็นอุณหภูมิน้อยกว่า ๑ องศาเซลเซียส แต่มีจำนวนน้อยมาก

 

๘. ฟิวซูลินิด (Fusulinid)

   ฟิวซูลินิด เป็นสัตว์ทะเลเซลล์เดียวที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ปลายยุคเพอร์เมียน อาศัยอยู่ตามพื้นตะกอนหรือลอยน้ำ ในเขตอบอุ่น บริเวณน้ำตื้น ส่วนมากพบในหินปูน ใช้เป็นฟอสซิลดัชนีที่ดีที่สุดของยุคคาร์บอนิเฟอรัสและเพอร์เมียน เพราะแต่ละชนิดมีช่วงชีวิตสั้น มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพบเป็นจำนวนมาก สามารถกำ หนดอายุได้แน่นอน ลักษณะภายนอกส่วนใหญ่มีรูปร่างยาว หัวแหลม ท้ายแหลม รูปร่างและขนาดคล้ายเมล็ดข้าวสาร ทำให้คนทั่วไปคิดว่าเป็น “ข้าวสารหิน” จึงนิยมเรียกว่า “คตข้าวสาร” เนื่องจากสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มีขนาดยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร – ๒ เซนติเมตร ในการวิเคราะห์ชนิดจะใช้วิธีการศึกษาจากแผ่นหินตัดขัดบาง เพื่อดูลักษณะรายละเอียดหน้าตัดภายใน ที่จะทำ ให้ทราบชนิดที่แน่นอน ซึ่งมีมากกว่า ๕๐ สกุล

          ในประเทศไทยพบฟอสซิลฟิวซูลินิดจำนวนมากในหินปูนยุคเพอร์เมียน ในจังหวัดสระบุรี เลย เพชรบูรณ์ เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ และในยุคคาร์บอนิฟอรัสจังหวัดเลย สำหรับในจังหวัดสตูล เขตอำเภอทุ่งหว้า พบหินปูนทั้งในยุคเพอร์เมียนและยุคคาร์บอนิเฟอรัส จึงคาดว่าจะมีฟอสซิลฟิวซูลินิดปรากฏอยู่

ภาพ ซากดึกดำ บรรพ์ฟิวซูลินิด

 ๙. ไครนอยด์ (Crinoid)

 

 ไครนอยด์ เป็นสัตว์ทะเลในไฟลัมเอคคิโนเดิร์ม พบฟอสซิลตั้งแต่ยุคออร์โดวิเชียนตอนล่างจนถึงปัจจุบัน ไครนอยด์แม้เป็นสัตว์แต่เป็นพวกยึดติดอยู่กับที่ตามพื้นทะเล และงอกลำตัวขึ้นเหนือพื้นทะเลที่มีความลึก เป็นพวกที่กินซากสิ่งมีชีวิตที่ตายและทับถมตามพื้นทะเลเหมือนพวกเอคคิโนเดิร์มอื่น ๆ พบแพร่หลายทั่วโลกระหว่างเส้นรุ้ง ๘๑ องศาเหนือ - ๕๒ องศาใต้ ลักษณะของไครนอยด์ ส่วนที่ยึดติดอยู่กับที่มีลักษณะเป็นลำต้นเคลื่อนไหวได้ เรียกว่า stem ประกอบ ด้วยแผ่นแคลไซต์ ตรงกลางกลวงซึ่งวางต่อซ้อน ๆ กัน ส่วนลำต้นดังกล่าวนี้มักจะพบเป็นฟอสซิล ในหินปูน บริเวณตอนบนของ stem จะมีส่วนยอดซึ่งเป็นที่รวบรวมระบบอาหาร ประกอบด้วยส่วนที่มี  ลักษณะคล้ายถ้วยซึ่งเป็นส่วนของลำต้นและจะมีแขนเรียวเล็กและหักง่ายชี้ไปยังส่วนบนของถ้วย เป็นส่วนกวาดอาหารเข้าสู่ปาก เนื่องจากไครนอยด์มีลักษณะคล้ายราก ลำต้น และส่วนบนที่เป็นถ้วยคล้ายดอกลิลีบางคนจึงเรียกไครนอยด์ว่า “พลับพลึงทะเล” (Sea Lily)

 

 ในจังหวัดสตูลพบในหมวดหินรังนกที่เกาะตะรุเตา หมวดหินป่าแก่และหมวดหินป่าเสม็ด ที่อำเภอ  ทุ่งหว้า - ละงู และกลุ่มหินราชบุรีที่บ้านทุ่งทะนาน ตำ บลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า

ภาพ ฟอสซิลไครนอยด์ ที่พบในบริเวณอำเภอละงู จังหวัดสตูล

 ๑๐. ช้างสเตโกดอน (Stogodon)

     สเตโกดอน เป็นช้างดึกดำ บรรพ์ที่สูญพันธุ์แล้ว คาดว่ามีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชีวิตอยู่ในช่วงสมัยไมโอซีนตอนปลายจนถึงสมัยไพลสโตซีนหรือประมาณ ๑๑ ล้านปีก่อน จนถึง ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีหลายชนิด เป็นช้างที่มีลักษณะร่วมกันระหว่างช้างมาสโตดอน กับช้างเอลิฟาสที่เป็นสกุลของช้างเอเชียปัจจุบัน


ภาพ  ฟันช้างสเตโกดอนพบที่ถ้ำเลสเตโกดอน(วังกล้วย) ตำ บลทุ่งหว้า








๑๑. ช้างเอลิฟาสโบราณ (Ancient Elephas)

 

 

 

 

 

              ช้างเอลิฟาส เป็นช้างดึกดำ บรรพ์ที่เป็นฟอสซิลและเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของช้างเอลิฟาสปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ช้างเอเชียหรือช้างอินเดีย รวมทั้งช้างไทยก็อยู่ในกลุ่มช้างเอเชียด้วย คาดว่าเป็นช้างที่มีอายุอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนปลาย มาจนถึงสมัยไพลสโตซีนหรือ ๑๑ – ๐.๐๑ ล้านปีก่อน และในช่วงเวลา ต่อมาก็สืบทอดมาเป็นช้างในสมัยปัจจุบันหรือตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ปีจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทย พบฟอสซิลฟันช้างเอลิฟาสโบราณจากแหล่งบ่อดูดทรายริมแม่น้ำมูล จังหวัดนครราชสีมา ชั้นตะกอนกรวดทรายของแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับในภาคใต้พบเป็นแห่งแรกที่ถ้ำวังกล้วย อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นถ้ำเดียวกันกับที่พบช้างสเตโกดอน ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติไทย และเคยเป็นราชพาหนะของพระมหากษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะได้มีการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำ บรรพ์ เพื่อการอนุรักษ์ฟอสซิลช้างและฟอสซิลอื่นๆ ของภาคใต้ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า 

           

      

ภาพ เศษแผ่นฟันกราม ของช้างดึกดำ บรรพ์สกุลเอลิฟาส ที่พบในถ้ำวังกล้วย อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

 ๑๒. แรดโบราณ (Ancient Rhinoceros)

      แรด มีกำ เนิดในสมัยเดียวกันกับบรรพบุรุษของช้างดึกดำ บรรพ์ คือ มีมาตั้งแต่สมัยอีโอซีนหรือประมาณ ๕๐ ล้านปีก่อน และมีแพร่หลายจนถึงสมัยไพลโอซีนและไพลสโตซีน ( ๕- ๐.๐๑ ล้านปีก่อน) เป็นสัตว์พวกแรกที่พัฒนาเท้าให้เป็นกีบ โดยแรดเป็นสัตว์กีบคี่ (odd-toed ungulates) เช่นเดียวกับม้าและสมเสร็จ แรดชอบอาศัยอยู่ในบริเวณทุ่งหญ้าที่มีต้นไม้ มีน้ำและโคลนสำหรับกลิ้งเกลือก ปัจจุบันแรดมี ๒ กลุ่ม คือ แรดอินเดียนอเดียว กับแรดสองนอ ซึ่งมีอยู่ ๒ สกุล คือ แรดขาวกับแรดดำในประเทศไทยพบฟอสซิลแรดโบราณ ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา บ่อดูดทรายริมแม่น้ำมูล จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะแหล่งหลังนี้พบถึง ๓สกุล คือ สกุลบราคิโพธีเรียม คิโลธีเรียม และเกนดาธีเรียม สำหรับภาคใต้ แหล่งเด่นของแรดโบราณ คือ ถ้ำวังกล้วย อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ชึ่งพบแรดโบราณคาดว่ามีถึง ๒ สกุล นับเป็นการพบฟอสซิลแรดโบราณแห่งแรกของภาคใต้ โดยน่าจะเป็นสกุลเกนดาธีเรียม และคิโลธีเรียม มีอายุประมาณ ๑.๘ – ๐.๐๑ ล้านปีก่อน

      

ภาพฟันแรด(ซ้าย) เขี้ยวและกรามแรด (ขวา)


............................................................................

บรรณานุกรม

 ทรงภพ  วารินสะอาด. (ม.ป.ป.). อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark). จังหวัดสตูล : ม.ป.ท. (อัดสําเนา)
                    ที่ทำการปกครองจังหวัดสตูล.(2562). เอกสารประกอบการอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับอุทยานธรณีโลก   
                                   สตูลแก่ข้าราชการฝ่ายปกครองในพื้นที่จังหวัดสตูล. 
จังหวัดสตูล : ที่ทำการปกครองจังหวัดสตูล.
                   คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี. อุทยานธรณี. สืบค้น
                                   เมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.geopark-thailand.org/unesco-global- geoparks 



 
 
 ® สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูล
 @ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนา โดย นายคำรณ รูบามา นักเทคโนโลยีสารสนเทศ