วัน กีฬา แห่งชาติ 16 ธันวาคม เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พร้อมกับการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และเพื่อประกาศเกียรติคุณแก่เหล่านักกีฬา และเจ้าหน้าที่ที่ร่วมกันสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ
รัฐบาลได้ทำการส่งเสริมทางด้านการกีฬาของไทย เพราะตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของกีฬา ซึ่งนอกจากจะเป็นการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง กีฬายังเป็นเครื่องมือช่วยคลายความเครียด ช่วยปรับปรุงด้านความคิดและอุปนิสัยให้ประชาชนเป็นผู้มีความเสียสละ รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย และมีความสามัคคีต่อกัน
ความเป็นมาของวันกีฬาแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2519 เป็นวันที่พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพมหานคร และทรงได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาเรือใบประเภท โอ.เค. และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับยืนบนแท่นรางวัลร่วมกับนักกีฬาที่ชนะที่ 2 และที่ 3 ในพิธีปิดการแข่งขัน ณ สนามศุภชลาศัย ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ในระหว่างวันที่ 6 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2510
เพื่อเป็นการระลึกถึงพระปรีชาสามารถของพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นนักกีฬาตัวแทนของชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 และเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนชาวไทยเห็นคุณค่าความสำคัญของการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทยจึงได้มีมตินำเสนอคณะรัฐมนตรีลงความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2529 กำหนดให้วันที่ 16 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวัน “วันกีฬาแห่งชาติ”
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันกีฬาแห่งชาติ 1เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมระลึกถึงพระปรีชาสามารถของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในฐานะที่เคยเป็นนักกีฬาทีมชาติไทย โดยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ณ กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2510 และทรงได้รับเหรียญทอง จากการแข่งขันเรือใบประเภท o k
2เพื่อให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยเห็นความสำคัญและคุณค่าของการกีฬา การออกกำลังกาย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมกีฬามากยิ่งขึ้น
3เพื่อชักจูงให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกีฬาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การเล่นกีฬา และให้การสนับสนุนการกีฬา
4เพื่อเป็นการจัดหาทุนในการส่งเสริมและดำเนินกิจกรรมกีฬาของชาติ
5เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมการคืนสู่เหย้าของนักกีฬาในอดีตและปัจจุบันงาน
กิจกรรมวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2562
กิจกรรมวัน กีฬา แห่งชาติ ประจำปี 2562 นี้ ได้มีการจัดงานประกาศเกียรติคุณนักกีฬาดีเด่นเนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2562 ในวันที่ 16 ธ.ค.62 ที่อินดอร์สเตเดี้ยม สนามกีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พร้อมกับการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
การประกาศเกียรติคุณนักกีฬาดีเด่นเนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2562 มีทั้งหมด 10 ประเภท ได้แก่
- นักกีฬาสมัครเล่นดีเด่น (ชาย-หญิง
- นักกีฬาเยาวชนสมัครเล่นดีเด่น (ชาย-หญิง)
- นักกีฬาอาชีพดีเด่น
- นักกีฬามวยไทยอาชีพดีเด่น
- นักกีฬาพิการดีเด่น (ชาย-หญิง)
- ประเภทกีฬาทีมดีเด่น (EVENTS) และชนิดกีฬาทีมดีเด่น (SPORTS)
- ผู้ฝึกสอนกีฬาดีเด่น
- สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยดีเด่นและสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยดีเด่น
- สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดดีเด่น
- บุคลากรทางการกีฬาดีเด่น
ผลการประกาศรางวัล นักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาดีเด่น เนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2562
รางวัลนักกีฬาดีเด่น
นักกีฬาสมัครเล่นชายดีเด่น: กันตภณ หวังเจริญ (แบดมินตัน)
รองดีเด่น: เพิ่มพล ธีรพัฒน์พาณิชย์ (เจ็ตสกี) และอาดีลัน เจ๊ะแมง (ปันจักสีลัต)
นักกีฬาสมัครเล่นหญิงดีเด่น: พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ (เทควันโด)
รองดีเด่น: ได้แก่ วรัตน์ฐนันท์ ศุภ์กฤศธเนส (สนุกเกอร์) และ จุฑาธิป มณีพันธุ์ (จักรยาน)
นักกีฬาเยาวชนสมัครเล่นชายดีเด่น: กุลวุฒิ วิทิตศานต์ (แบดมินตัน)
รองดีเด่น: ได้แก่ พันวา บุนนาค (แข่งเรือใบ) และ อธิชัย เพิ่มทรัพย์ (มวยสากลสมัครเล่น)
นักกีฬาเยาวชนสมัครเล่นหญิงดีเด่น: อาฒยา ฐิติกุล (กอล์ฟ)
รองดีเด่น: ได้แก่ พิทยาภรณ์ ไชยวรรณ (แบดมินตัน) และ กานต์รวี สมพันธ์ (เทควันโด)
นักกีฬาอาชีพดีเด่น: ธีราทร บุญมาทัน (ฟุตบอล)
รองดีเด่น: เทพไชยา อุ่นหนู (สนุกเกอร์)
นักกีฬามวยไทยอาชีพดีเด่น: สุนทร แสงเงิน ฉายา “เขี้ยวพยัคฆ์ (จิตรเมืองนนท์) ม.รัตนบัณฑิต”
รองดีเด่น: พงศกร สิทธิเดช ฉายา “แสงมณี เสถียรมวยไทยยิม”
นักกีฬาพิการชายดีเด่น: ประวัติ วะโฮรัมย์ (วีลแชร์เรซซิ่ง)
รองดีเด่น: วรวุฒิ แสงอำภา (บอคเชีย)
นักกีฬาพิการหญิงดีเด่น: ขวัญสุดา พวงกิจจา (เทควันโด)
รองดีเด่น: สุนีย์ภรณ์ ถนอมวงค์ (กรีฑา)
รางวัลทีมกีฬาดีเด่น: ตะกร้อ ทีมชุดชาย และ วอลเลย์บอล ทีมหญิง
รางวัลประเภทกีฬาทีมดีเด่น: แบดมินตัน คู่ผสม
รางวัลผู้ฝึกสอนกีฬาดีเด่น
ผู้ฝึกสอนนักกีฬาสมัครเล่นดีเด่น: เทศนา พันธ์วิศวาส (แบดมินตัน)
ผู้ฝึกสอนนักกีฬาต่างประเทศดีเด่น: Mr. Li Xiaole (จักรยาน)
ผู้ฝึกสอนนักกีฬาอาชีพดีเด่น: ธวัชชัย ดำรงอ่องตระกูล (ฟุตบอล)
ผู้ฝึกสอนนักกีฬาส่วนภูมิภาคดีเด่น: ศุภผล ตันตระกูล (ยิงปืน จังหวัดนครสวรรค์)
ผู้ฝึกสอนนักกีฬาคนพิการดีเด่น: สุพรต เพ็งพุ่ม (วีลแชร์เรซซิ่ง)
รางวัลสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยดีเด่น
สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยดีเด่น: สมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย
สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทยดีเด่น: สมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมกีฬาจังหวัดดีเด่น: สมาคมกีฬาแห่งจังหวัดจันทบุรี
รางวัลบุคลากรทางการกีฬาดีเด่น
ผู้บริหารดีเด่น: พลเอก เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย
นักวิชาการดีเด่น: ผศ.ถาวร กมุทศรี (นักสรีรวิทยา)
ผู้จัดการทีมดีเด่น: ธวัช กุมุทพงษ์พานิช (ตะกร้อ)
ผู้ตัดสินดีเด่น: จตุพร เหมวรรณโณ (เทควันโด)
แหล่งข้อมูล:
- วันกีฬาแห่งชาติ. (2556). เข้าถึงได้จาก http://www.todayth.com/วันกีฬาแห่งชาติ.html
- อุดม เชยกีวงศ์. (2547). ปฏิทินประเพณี 12 เดือน. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก : https://e-library.siam.edu/national-sports-day/
เข้าชม : 498
|