[x] ปิดหน้าต่างนี้
 


 
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ความรู้เกี่ยวกับ IT
หัวข้อเรื่อง : ง่วงนอนตลอดเวลา คุณแค่ขี้เซาหรือกำลังเป็นโรคง่วงนอนผิดปกติกันแน่???

อังคาร ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564

คะแนน vote : 59  

 

ง่วงนอนตลอดเวลา คุณแค่ขี้เซาหรือกำลังเป็นโรคง่วงนอนผิดปกติกันแน่??? เรามีคำตอบค่ะ

ง่วงนอนตลอดเวลา คุณแค่ขี้เซาหรือกำลังเป็นโรคง่วงนอนผิดปกติกันแน่??? เรามีคำตอบค่ะ
 02/02/21 22:01  1,042 ผู้เข้าชม  6 ครั้งที่แชร์

เมื่อคืนนอนก็เยอะ แต่ทำไมตอนเช้ายังง่วงนอนอยู่นะ แถมยังรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาเป็นประจำ ไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่าเอาซะเลย อยากจะนอนตลอดทั้งวันเลยได้มั๊ย เข้าใจมาตลอดว่าตัวเองแค่ขี้เกียจ หรือไม่ก็ขี้เซาเฉย ๆ แต่ช้าก่อน!!! บางทีคุณอาจกำลังเข้าใจผิดอยู่นะ อาการง่วงนอนตลอดทเวลาของคุณมันเป็นแค่ความขี้เกียจ แต่จริง ๆ แล้ว มันอาการง่วงนอนตลอดเวลาอาจมีสาเหตุมาจากโรคง่วงนอนผิดปกติก็ได้นะ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเรากำลังมีปัญหากับอาการง่วงนอนผิดปกติอยู่!!!

"โรคง่วงนอนผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปัญหาสุขภาพ หรือแม้แต่การใช้ยาบางชนิด ก็ส่งผลทำให้เป็นโรคง่วงนอนผิดปกติได้"

พฤติกรรมการนอน

การนอนดึกเป็นประจำทุกวัน นอนไม่เป็นเวลา เปลี่ยนเวลานอนบ่อย เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้นอนไม่หลับและเกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลา ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น ทั้ง ๆ ที่ตอนกลางคืนนอนมาเต็มอิ่มแล้ว ส่งผลให้มีอาการหงุดหงิดง่าย อีกทั้งการสลับเวลาในการทำงาน ทำงานเป็นกะ เปลี่ยนไปทำงานในเวลากลางคืนบ้างกลางวันบ้าง ก็เป็นสาเหตุทำให้นอนไม่หลับและรู้สึกง่วงตลอดเวลาได้เช่นกัน

ปัญหาสุขภาพจิต

การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และสุขภาพจิตใจ สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลาได้ เช่น โรคซึมเศร้า เป็นผลมาจากสารเคมีในสมองโดยตรง ทำให้เวลานอนแปรปรวน ไม่แน่นอน หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนไม่หลับ เบื่อหน่าย ซึ่งอาการจากภาวะซึมเศร้าก็ส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลียจนเป็นสาเหตุของอาการง่วงเหงาหาวนอนทั้งวันได้เช่นกัน

ปัญหาสุขภาพ

ปัญหาสุขภาพสามารถก่อให้เกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลาได้ ยกตัวอย่างโรคที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ง่วงนอนตลอดเวลา ได้แก่

  • โรคเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมน จนกระทบต่อเนื่องไปยังระบบการทำงานอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นที่มาของอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดเวลา อาหารไม่ย่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เมื่อมีอาการเหล่านี้บ่อยๆ จะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ทำให้เป็นหวัดหรือท้องเสียได้ง่าย รวมไปจนถึงการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อย่างเช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิคสูง มะเร็ง เป็นต้น
  • โรคแพ้กลูเตน บางคนที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบของโปรตีนกลูเตนก็อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ท้องเสีย และโลหิตจางได้ โดยอาหารที่มีโปรตีนกลูเตน ได้แก่ ขนมปัง เค้ก หรือซีเรียล
  • โรคโลหิตจาง ภาวะขาดธาตุเหล็กทำให้เกิดอาการง่วงนอนจากโรคโลหิตจางได้ เพราะเมื่อร่างกายได้รับแร่ธาตุชนิดนี้ไม่เพียงพอจะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าและอ่อนเพลียได้
  • โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) คือโรคที่เกิดจากการอ่อนเพลียอย่างรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน อาจมีสาเหตุจากการบริโภคอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลมากเกินไป โดยโรคนี้อาจก่อให้เกิดอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บคอ ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัว อ่อนล้า ง่วงนอนผิดปกติ ง่วงนอนตลอดเวลา ความจำไม่ค่อยดี นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เป็นต้น ทั้งนี้แพทย์มักจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคดังกล่าวก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและเมื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้วไม่พบความผิดปกติใด ๆ
  • โรคไทรอยด์ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย หรือมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำลงกว่าปกติก็จะทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อย น้ำหนักลด และอาการแขนขาไม่มีแรงร่วมด้วย
  • โรคเบาหวาน อาการอ่อนเพลียเป็นหนึ่งในอาการของโรคเบาหวาน ซึ่งมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ก็ส่งผลทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย จนรู้สึกอยากนอนตลอดเวลา นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย หรือน้ำหนักลดเป็นต้น
  • โรคกังวลเกินเหตุ (Generalised Anxiety Disorder) ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นความเคยชิน สามารถส่งผลให้กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ อีกทั้งยังทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย ง่วงนอนตลอดเวลาอีกด้วย
  • กลุ่มอาการขาไม่อยู่สุข (Restless Legs Syndrome) อาการขาสั่น และอาการปวดขาที่เกิดในกลุ่มผู้ที่มีกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข จนทำให้เกิดการนอนหลับไม่เพียงพอในเวลากลางคืน เมื่อนอนหลับไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียในระหว่างวันนั่นเอง
  • โรคติดเชื้ออีบีวี (Glandular Fever) หรือโมโนนิวคลีโอสิส (Mononucleosis) หนึ่งในโรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลียจากไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ โดยแพทย์จะรักษาตามอาการและรอให้ร่างกายกำจัดเชื้อนี้ไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน แต่ก็อาจมีบางกรณีที่เกิดการติดเชื้อเพิ่ม ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาควบคู่กันไปด้วย
  • เป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกาย การสูญเสียเลือดในปริมาณมากๆ บ่อยๆ เช่น มีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร หรืออาจจะสูญเสียเลือดจากการเป็นโรคริดสีดวงทวารบ่อยๆ อาจเป็นสาเหตุของอาการอ่อนเพลีย หรืออยู่ในภาวะโลหิตจางเรื้อรัง เลยแสดงอาการเหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมง่าย อ่อนแรง และง่วงหงาวหาวนอนได้เช่นกัน
  • ความผิดปกติด้านการนอนหลับ (Sleeping Disorder) ภาวะการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) หรือการนอนกรน ที่ทำให้เราสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกจนทำให้นอนหลับไม่เพียงพอ รวมถึงโรคลมหลับ ทำให้สารสื่อสารในสมองขาดหายไป มีอาการหลับแทรกตื่น ตื่นแทรกหลับ พบมากในคนที่ง่วงนอนมาก ถึงขั้นหลับกลางอาากาศหรือหลับในได้เลย ใครที่นอนกรนบ่อยๆ และมีการหยุดหายใจขณะหลับโดยที่เราไม่รู้ตัว แถมมีอาการปวดหัวตอนเช้า ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแทรกอยู่ด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโรคความดันสูง เส้นเลือดตีบ ตามมาได้

การใช้ยาบางชนิด

ยาแก้แพ้ ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ มีผลข้างเคียงจากการใช้ คืออาจทำให้รู้สึกง่วง โดยยาเหล่านี้จะมีคำเตือนให้หลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะหรือการทำงานกับเครื่องจักรกลเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้ หากเกิดอาการง่วงนอนตลอดทั้งวันขณะที่ใช้ยาเหล่านี้ อาจเกิดจากการใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือยาที่ได้รับมีปริมาณไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย นอกจากนี้ การใช้ยานอนหลับสามารถส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ ทำให้เกิดอาการง่วงนอนระหว่างวัน สาเหตุมาจากยานอนหลับไปรบกวนวงจรการนอนหลับ จนทำให้เมื่อตื่นมาแล้วอาจรู้สึกไม่สดชื่น หรือง่วงนอนมากกว่าเดิมได้

อาการง่วงนอน อาจไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ แต่หากมีอาการง่วงนอนตลอดเวลาบ่อย ๆ นอกจากมันจะกระทบต่อความสามารถในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว อาการง่วงนอนตลอดเวลาอาจเป็นสัญญานเตือนจากร่างกายของเรา ว่าเราอาจกำลังมีปัญหาสุขภาพอยู่ และส่งผลให้เกิดอาการง่วงนอนผิดปกติิ หมั่นสังเกตุอาการตัวเอง ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังจนรักษาได้ยาก หรือรักษาไม่ได้ค่ะ

 

อ้างอิง : pobpad



เข้าชม : 939


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      ไข้เลือดออก (Dengue fever) 9 / ส.ค. / 2566
      “ไซยาไนด์” สารพิษอันตรายถึงชีวิต อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น 27 / เม.ย. / 2566
      Heat Stroke (โรคลมแดด) โรคที่เกิดช่วงหน้าร้อน 27 / เม.ย. / 2566
      แนะ 4 วิธี ป้องกันโรคฝีดาษลิง 26 / ก.ค. / 2565
      7 วิธี ง่าย ๆ ในการเริ่มลดไขมัน 18 / ก.ค. / 2565