[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ภูมิปัญญาชาวบ้าน
หัวข้อเรื่อง : ภูมิปัญญาชาวบ้าน สิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้าน

พฤหัสบดี ที่ 7 เดือน มกราคม พ.ศ.2564

คะแนน vote : 65  

 สิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้าน

สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ บรรดามีที่คนพื้นบ้านพื้นเมืองภาคใต้ ใช้สอยตามวิถีชีวิตในพื้นถิ่น (Folklore or Folklife) ประจำวันนั้นมีมากเช่นเดียวกับคนในภูมิภาคอื่น แต่อาจจะมีรูปแบบแตกต่างกันบ้างตามอิทธิพลสิ่งแวดล้อม และวัตถุสิ่งของเหล่านั้นก็เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ชาวบ้านคิดทำขึ้นใช้เองด้วยฝีมือ ความเรียบง่าย ตามวัตถุประสงค์ ประโยชน์ใช้สอยอยู่บนพื้นฐานของอาชีพ สังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ลางอย่างก็มีลักษณะผสมผสานระหว่างความเป็นศิลปะและความเป็นหัตถกรรม นอกจากนี้ยังมีการรับถ่ายทอดอิทธิพลระหว่างกันกับประชานในภูมิภาคอื่นด้วย ดังนั้นคุณค่าความงาม ความโดดเด่น นอกจากทักษะ/ฝีมือประสบการณ์ ลักษณะงานการใช้สอยแล้วยังขึ้นกับวัสดุพื้นถิ่นธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมเป็นองค์ประกอบด้วย
ส่วนการอนุรักษ์ (Preservation) วัฒนธรรมพื้นบ้านประเพณี ก็ขึ้นกับองค์ประกอบปัจจัยหลายอย่าง เช่น วัสดุ รูปแบบ ประโยชน์ใช้สอย คุณค่า ความจำเป็น ฯลฯ จะพอใช้สอยเท้าเหยียบย่ำซ้ำรอยเดิมอยู่ร่ำไปคงไม่ได้ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนบ้างตามเหตุผล ความเหมาะสม แต่ส่วนที่เป็นสารัตถะหรือ แกนเอกลักษณ์อันเป็นหัวใจหลักของโครงสร้างจำเป็นต้องคงรูปรักษาไว้ คือ จิตวิญญาณลักษณะท่าทางของพื้นบ้านพื้นเมืองจะต้องแสดงให้เห็นได้ตลอดไป และควรจะได้ส่งเสริมให้พัฒนาเจริญเติบโตที่เน้นนวัตกรรม โดยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ออกมาให้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
เครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นของพื้นบ้านที่ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง หรือประชาชนพลเมืองทั่วไปใช้สอยในชีวิตประจำวัน ที่จะขอนำมากล่าวถึงนี้เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อประกอบการศึกษาเปรียบเทียบเท่านั้น

หมวกกะปิเยาะห์

ประวัติความเป็นมา
หมวกกะปิเยาะห์เป็นหมวกทรงอ่อนรูปทรงกลมเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของความเป็นมุสลิม ซึ่งผู้ชายที่นับถือศาสนาอิสลามจะนิยมสวมใส่ เพื่อประกอบศาสนกิจ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพี่น้องมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากหมวกกะปิเยาะห์จึงเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญในพื้นที่แถบนี้ และเป็นที่ต้องการของตลาดท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก

กระบวนการผลิต
การตัดเย็บหมวกกะปิเยาะห์ จะมีวิธีการตัดเย็บด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนบน และ ส่วนสัน ส่วนบน ตัดผ้าโทเร สำลีบางๆ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 นิ้ว มาวางซ้อนกันนำมาเย็บติดกันพร้อมปักลวดลายให้เป็นแนววงกลมรอบๆ (ตามลวดลายที่ต้องการ) ส่วนสัน ตัดผ้าโทเร สำลีบางๆ และผ้าแข็งขนาดกว้างประมาณ 3-4 นิ้ว ความยาวตามขนาดของความยาวรอบศรีษะของผู้สวมใส่และนำผ้าโทเร สำลีและผ้าแข็งมาวางซ้อนกันและมาเย็บให้ปลายผ้าทั้งสองด้านชนกันก็จะออกมาเป็นวงแหวน นำส่วนบนและส่วนสันมาเย็บติดกันและออกมาเป็นรูปของหมวกกะปิเยาะห์

 

 

กระจูด

ประวัติความเป็นมา
ในหมู่บ้านมีทุ่งกระจูด( ชื่อท้องถิ่น ) ขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านได้นำมาสานเป็นเสื่อไว้ใช้เองและจำหน่ายแต่ทำในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่อมากลุ่มพัฒนาชุมชนได้รวมกลุ่มสมาชิกขึ้นและประสานงานกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมาทำการสอนแปรรูป ตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น หมวก กระเป๋า แบบต่างๆ ของใช้เบ็ดเตล็ด ที่รองแก้ว ที่รองจาน ตู้เสื้อผ้า แฟ้ม ฯลฯ
กระบวนการผลิต
นำกระจูดตากแห้ง ย้อมสี เข้าเครื่องรีด จักรสานตามลายที่ต้องการแล้วนำมาตัดเย็บ ใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยี



เข้าชม : 1276


ภูมิปัญญาชาวบ้าน 5 อันดับล่าสุด

      ภูมิปัญญาชาวบ้าน สิ่งของเครื่องใช้พื้นบ้าน 7 / ม.ค. / 2564


 
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  จังหวัดสตูล
ห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งหว้า
182 ถนนตรัง-สตูล   หมู่ที่ 6  ตำบลทุ่งหว้า  อำเภอทุ่งหว้า  จังหวัดสตูล 91120 โทรศัพท์  074-789080
โทรสาร  074789575  t.satun@hotmail.com      
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   อ.นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by