เป็นที่ฮือฮาเมื่อฝรั่งเศส ได้แจ้งให้ระงับการจำหน่าย ซิลิโคนที่ใช้เสริมเต้านมยี่ห้อ pip ที่ออกวางจำหน่าวยทั่วโลก เนื่องจากพบว่า ก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม ข่าวนี้สร้างความตระหนกตกใจเพราะมีคนนำไปใช้กันทั่ว สำหรับในประเทศไทย อย.ได้สั่งให้มีการตรวจสอบด้วยเช่นกัน
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2554 นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงกรณีที่ประเทศฝรั่งเศสเรียกเก็บคืนซิลิโคนยี่ห้อ pip ที่มีการส่งไปจำหน่ายทั่วโลก เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าเป็นตัวก่อมะเร็งว่า จากการตรวจสอบพบว่าในประเทศไทยมีผู้ขออนุญาตนำเข้าซิลิโคนยี่ห้อนี้กับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากซิลิโคนที่นำมาใช้เป็นเต้านมเทียมนั้นถือเป็นเครื่องมือแพทย์จะ ต้องมีการขออนุญาตก่อนการนำเข้าตามพรบ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 แต่ซิลิโคนยี่ห้อนี้ไม่ได้มีการนำเข้ามาอีกตั้งแต่ปี 2553 เบื้องต้นอย.ได้มีการสั่งการให้ระงับการจำหน่าย จ่าย แจกซิลิโคนยี่ห้อนี้แล้ว และอยู่ระหว่างการเร่งตรวจสอบผู้ขออนุญาตนำเข้า จำนวนการนำเข้า การส่งสินค้าไปจำหน่ายจำนวนเท่าไหร่ ที่ไหน อย่างไร และยังมีสินค้าคงเหลืออยู่ในท้องตลาดหรือไม่
“ขณะนี้ได้สั่งการไม่ให้มีการจำหน่าย จ่ายแจกซิลิโคนยี่ห้อนี้แล้ว หากตรวจสอบข้อมูลพบว่ายังมีการจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ก็จะเรียกเก็บสินค้าคืนทั้งหมด รวมถึง จะทำหนังสือเตือนไปยังโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนและคลินิกเกี่ยวกับการใช้ ซิลิโคนยี่ห้อนี้ด้วย” เลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.พิพัฒน์ กล่าวอีกว่า สำหรับซิลิโคนยี่ห้ออื่นที่มีการขออนุญาตนำเข้า และจำหน่ายในประเทศไทยอยู่ ระหว่างการตรวจสอบว่ามีจำนวนมากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม อย.มีกระบวนการตรวจสอบก่อนการอนุญาตให้นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่เข้มงวดและ รัดกุม โดยผู้ขออนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์ จะต้องแสดงข้อมูลสินค้าที่ประกอบด้วย ผลวิเคราะห์ของวัสดุที่นำมาใช้ประกอบตัวสินค้า ผลวิเคราะห์การปนเปื้อนของสารห้ามใช้ต่างๆ ใบหลักฐานแสดงถิ่นกำเนิดของสินค้า และใบอนุญาตให้มีการจำหน่ายได้ในประเทศผู้ ผลิตเพื่อให้มั่นใจว่ามีการกลั่นกรองสินค้าในเบื้องต้นแล้ว อีกทั้ง มีผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ประเมินความปลอดถัยของสินค้า และหากมีความจำเป็นจะต้องมีผลยืนยันความปลอดภัยจากห้องปฏิบัติการภายใน ประเทศด้วย
|