บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย : ความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบล ของ ครู กศน. ในจังหวัดสตูล
ชื่อ – สกุลผู้ทำวิจัย : นางสาวนิตยา จิตภักดี
ปี พุทธศักราช : 2558
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบล
ของครู กศน. ในจังหวัดสตูล 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบล ของครู
กศน.ในจังหวัดสตูล ตามตัวแปรเพศและสาขาที่จบการศึกษา 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะการดำเนินงานตาม
มาตรฐาน กศน.ตำบล ของครู กศน. ในจังหวัดสตูล ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู กศน.ตำบลที่ปฏิบัติงาน
ในจังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้จากกลุ่ม
ประชากร ตามตารางสัดส่วนของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie& Morgan. 1970 : 607) ได้กลุ่มตัวอย่าง 32
คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน
กศน.ตำบล ของครู กศน. ในจังหวัดสตูล ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารมาตรฐานการดำเนินงาน กศน.ตำบล ปี
2554 แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย เพศ และสาขา
ที่จบการศึกษา ตอนที่ 2 ข้อมูลความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบล ของครู กศน. ใน
จังหวัดสตูลชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 83 ข้อ ตามมาตรฐาน กศน.ตำบล ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการ
บริหารจัดการ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการติดตาม ประเมินผลและ
รายงานผลลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตรส่วนประมาณค่าสร้างตามแนวความคิด ไลเคิร์ต กำหนดค่า
คะแนนของช่วงน้ำหนัก ออกเป็น 5 ระดับ คือน้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มากและมากที่สุด และตอนที่ 3 เป็น
แบบสอบถามปลายเปิด ข้อเสนอแนะจากผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับการดำเนินงาน กศน.ตำบล ของครู
กศน. ในจังหวัดสตูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage )ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean)
ค่าความถี่ (Frequeney) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F–test)
ผลการวิจัยพบว่า
ความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบลของครู กศน. ในจังหวัดสตูล โดย
ภาพรวมและรายมาตรฐานด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก (4.42) สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้
ด้านการบริหารจัดการ (4.48) รองลงมาคือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (4.38) ด้านการติดตาม ประเมินผล
และรายงานผล (4.36) และด้านการมีส่วนรวม (4.19) ความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบล
ของครู กศน. ในจังหวัดสตูล ที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบล ไม่
แตกต่างกัน และความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบล ของครู กศน. ในจังหวัดสตูล ที่จบ
การศึกษาสาขาต่างกัน มีความพึงพอใจการดำเนินงานตามมาตรฐาน กศน.ตำบล ไม่แตกต่างกัน