คำขวัญจังหวัด สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์
คำขวัญอำเภอ ยาง ปาล์มป่า ดารดาษ ราษฏร์รักสามัคคี ถิ่นนี้มะนัง
รู้จัก อำเภอมะนัง
อำเภอมะนัง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ๙๑๑๓๐ สำหรับอำเภอมะนัง มาจากคำว่า "ม้ายัง" ม้า หรือ รูป ม้า ทั้งนี้เนื่องมาจากในท้องถิ่นกิ่งอำเภอมะนัง มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง ชื่อ ถ้ำระฆังทอง ภายในถ้ำมีรูปปั้นม้าหินอยู่ 1 ตัว เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่บ้านเป็นสัญลักษณ์ ในการเดินทางนัดหมาย ต่อมาเพี้ยนมาเป็น "มะนัง"
ท้องที่อำเภอมะนังเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอควนกาหลง ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอมะนัง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 26 มิถุนายนพ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอมะนัง ในวันที่ 24 สิงหาคมพ.ศ. 2550 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2551
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอมะนังตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
· ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอทุ่งหว้า
· ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอควนกาหลง
· ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอควนกาหลง
· ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอละงู
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง ป่าเขา ที่ลุ่ม และลำห้วยสลับกันไป
ลักษณะภูมิอากาศ
มีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-32.3 องศาเซลเซียส มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน และ ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม - ธันวาคม
ข้อมูลการปกครอง
1. ตำบล.......2….. แห่ง
2. หมู่บ้าน....19.... แห่ง
3. เทศบาล.....-......แห่ง
4. อบต........2 ….. แห่ง
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
1. อาชีพหลัก ได้แก่ การทำ สวนปาล์มน้ำมัน การทำสวนยางพารา การทำสวนผลไม้
2. อาชีพเสริม ได้แก่ การทำไม้กวาดดอกหญ้า การทำไม้เสียบจากไม้ไผ่ การทำเครื่องจักรสาน
3. จำนวนธนาคาร มี 1 แห่ง ได้แก่ -ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. จำนวนห้างสรรพสินค้า ไม่มี – แห่ง
ด้านสังคม
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่ โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ โทร.074-782100
2. โรงเรียนอนุบาลมะนัง (ขยายโอกาส ม.3)
3.มหาวิทยาลัย ได้แก่ -
ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
ทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์แหล่งต้นน้ำ ลำธาร และ สัตว์ป่าและสถานที่ท่องเที่ยว
ด้านประชากร
ส่วนใหญ่เป็นคนที่อพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียงอย่าง พัทลุงสงขลา และนครศรีธรรมราชที่เข้าตั้งถิ่นฐาน และเป็นคนพื้นถิ่นด้วย ประชากรที่นี่ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ 60% มีวัดพุทธอยู่ 5 วัด สำนักสงฆ์ 3 แห่ง มีชาวมุสลิมอยู่ 40% มัสยิด 3 แห่ง สุเหร่า 1 แห่ง
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 15,376 คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 7,854 คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 7,522 คน
4. ความหนาแน่นของประชากร 73 คน/ตร.กม.
ด้านการคมนาคม
ทางบก
- รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4004
ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
1. ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ผลไม้ เช่น เงาะ ลองกอง
2. ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ (แม่น้ำ/บึง/คลอง) คลองมะนัง คลองลำโลน คลองลำลิเภา
รู้จัก กศน.อำเภอมะนัง
๑. สภาพทั่วไปของสถานศึกษา
ชื่อสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอมะนัง
ที่อยู่ : หมู่ที่ ๑ ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล รหัสไปรษณีย์ ๙๑๑๓๐
โทรศัพท์ ๐ – ๗๔๗๗ – ๓๓๗๑ โทรสาร ๐ – ๗๔๗๗ – ๓๓๗๑
website : http://satun.nfe.go.th/manang e-mail : ma.satun@hotmail.com
สังกัด : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูล
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
๒. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ประวัติสถานศึกษา : ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอมะนัง เริ่มจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ ชื่อเดิม ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนกิ่งอำเภอมะนัง (กิ่งอำเภอมะนัง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ และยกฐานะเป็นอำเภอมะนัง เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๐) เริ่มแรกใช้อาคารศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนิคมพัฒนา เป็นสำนักงานชั่วคราว โดยมี จ่าสิบเอกเกษมทรัพย์ ห่อทอง ดำรงตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ คนแรก ต่อมาได้ย้ายมาใช้อาคารของสำนักงานประถมศึกษาอำเภอมะนัง (เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ภายในศูนย์ราชการอำเภอมะนัง หมู่ที่ ๑ ตำบลปาล์มพัฒนา เป็นสำนักงาน และปรับปรุงศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนิคมพัฒนา เป็นห้องสมุดประชาชนอำเภอมะนัง
ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอมะนัง” ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๑ มีนางสาวนิตยา จิตภักดี ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖
ปรัชญา
การศึกษาสร้างปัญญา ปัญญาพัฒนาชีวิต
วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นพัฒนาคนมะนังให้คิดเป็น ด้วยกระบวนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ
พันธกิจ
๑. จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓. พัฒนาแหล่งเรียนรู้,ภูมิปัญญา และเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้
๔. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่นให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานการณ์
๕. คิดค้นนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการศึกษา
๖. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๗. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
๘. พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
๙. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
อัตลักษณ์
“มีจิตอาสา ใฝ่หาความรู้ คู่คุณธรรม”
เอกลักษณ์
“ภาคีเครือข่ายเด่น เน้นความพอเพียง”
เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในอำเภอมะนังจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑. ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ
๒. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในอำเภอมะนังมีทักษะความรู้ในการประกอบอาชีพที่ตนเองถนัด ๒. ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายจบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
๓. ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายมีอาชีพหลังจากจบการศึกษาต่อเนื่อง
๓. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในอำเภอมะนังมีนิสัยในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ๔. ร้อยละของประชาชนที่เข้ารับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย
๔. มีแหล่งเรียนรู้หรือจุดบริการการเรียนรู้ด้วยตนเองครอบคลุมพื้นที่ ๕.ร้อยละของแหล่งเรียนรู้หรือจุดบริการการเรียนรู้ด้วยตนเอง
๕. มีหลักสูตร ครู สื่อ เทคโนโลยีและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ๖. จำนวนหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนา
๖. มีภาคีเครือข่ายมาร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๗. ร้อยละของเครือข่ายที่ให้ความร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๗. มีระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ ๘.มีผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาอยู่ในระดับดีขึ้นไป
๘. เป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ๙.ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในระดับดีขึ้นไป
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ ๑ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม
กลยุทธ์ที่ ๒ หลากหลายหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ ๓ ขยายฐานความร่วมมือกับเครือข่าย
กลยุทธ์ที่ ๔ ใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี
กลยุทธ์ที่ ๕ มืออาชีพทั้งองค์กร
ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับที่
|
ชื่อ – สกุล
|
ตำแหน่ง
|
ระยะเวลาที่
ดำรงตำแหน่ง
|
๑.
|
จ่าสิบเอกเกษมทรัพย์ ห่อทอง
|
หัวหน้าศูนย์ ๑
|
๑ ตุลาคม ๒๕๔๑ - ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔
|
๒.
|
นายเฉลิมชัย อาคาสุวรรณ
|
หัวหน้าศูนย์ ๑
|
๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗
|
๓.
|
นายคณาธิป บุญญารัตน์
|
รักษาการ
ผู้อำนวยการ
|
๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ – ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
|
๔.
|
นางอนุรัตน์ สงขำ
|
ผู้อำนวยการ
|
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ – ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๑
|
๕.
|
นายศิริพงษ์ บัวแดง
|
ผู้อำนวยการ
|
๑๗ มีนาคม ๒๕๕๑ – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑
|
๖.
|
นางละเอียด ละใบสะอาด
|
รักษาการผู้อำนวยการ
|
๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๑ – ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
|
๗.
|
นางดัชนี ปิยะพงษ์
|
ผู้อำนวยการ
|
๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๒ – ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
|
๘.
|
นายประเจตน์ กฤษณะพันธุ์
|
รักษาการผู้อำนวยการ
|
๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ – ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
|
๙.
|
นายมรกต กันหนองผือ
|
ผู้อำนวยการ
|
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕
|
๑๐.
|
นายมรกต กันหนองผือ
|
รักษาการผู้อำนวยการ
|
๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ – ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๖
|
๑๑.
|
นางสาวนิตยา จิตภักดี
|
ผู้อำนวยการ
|
๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๖ – ปัจจุบัน
|
เข้าชม : 6007 |