วันกองทัพไทย
เป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า
โดยถือเอาวันที่18 มกราคมของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่าพระองค์กระทำยุทธหัตถีในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 คำนวณได้ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2135 (บางตำราว่า ปี พ.ศ. 2136)
เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ.2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ภายหลังได้มี
นักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบและพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้นแท้ จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าวทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่ กระทรวงกลาโหมเสนอให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม
ความสำึคัญ
กองทัพไทย 3 เหล่า อันได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ต่างเป็นกำลังสำคัญ
ในการป้องกันประเทศชาติจากการรุกรานของบรรดาเหล่าราชศัตรูในยามสงคราม และในยามสงบ
กำลังพลของกองทัพทั้ง 3 เหล่า ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ดังนั้นจึงได้กำหนดให้มีการจัดงานวันกองทัพไทยในวันที่ 25 มกราคมของทุกปี
ประวัติ
สาเหตุที่กำหนดให้ วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทยนั้นเนื่องจากเป็นวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จอมทัพไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อ สมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและผลแห่งชัยชนะในครั้งนั้น ทำให้ข้าศึกไม่กล้าเข้ามารุกรานไทยทุกทิศทาง
เป็นเวลาถึง 150 ปี
วันกองทัพบก
การกำหนดว่าวันไหนเป็นวันที่ระลึกของเหล่าทัพ ใด เริ่มมีมาตั้งแต่สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดให้มีวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนาหน่วยราชการต่างๆ ขึ้น และประกาศให้วันที่ "๘ เมษายน" เป็น "วันกลาโหม" โดยพิจารณาเห็นว่า วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐ เป็นวันที่ออกประกาศการจัดการทหารและพระราชบัญญัติจัดตั้ง กรมยุทธนาธิการ ซึ่งถือว่าเป็นวันกำเนิดการทหารไทยแบบสมัยใหม่และมีความเจริญก้าวหน้าติดต่อ กันมาจนทุกวันนี้ ในปีต่อมาสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศกำหนดวันที่ระลึกของกองทัพบก คือ วันที ๒๘ กรกฎาคม กองทัพเรือ คือวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน และ กองทัพอากาศ คือวันที่ ๑๐ มกราคม ตามลำดับ
การที่กองทัพบกเสนอวันที่ ๒๘ กรกฎาคม เป็นวันกองทัพบกในครั้งนั้น เนื่องจากวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นวันที่กองทัพไทยได้ฉลองชัยชนะกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส โดยกระทำพิธีสวนสนาม
รับมอบดินแดนในอินโดจีน ที่จังหวัดพระตะบอง โดยมี พล.ท.หลวงพรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีดินแดนที่ประเทศไทยได้รับคืนคราวนั้นคือ ดินแดนของไทยทั้งหมดที่เสียให้แก่ฝรั่งเศส
การกำหนดวันกองทัพไทยและวันกองทัพบก
นับ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๒ รัฐบาลในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กำหนดให้วันที่ ๘ เมษายน ซึ่งเป็นวันระลึกวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหมและถือเป็นวันที่มีการปรับ ปรุงการทหาร จากการจัดอัตรา
กำลังแบบโบราณมาเป็นการจัดอัตรากำลังแบบปัจจุบันเป็นวันกองทัพไทย
เมื่อ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ใน พ.ศ.๒๕๒๓ ได้ดำริว่า วันกองทัพไทยควรเป็นวันที่มีความสำคัญและมีความหมายยิ่ง สำหรับทหาร
ทั้งสามเหล่าทัพ พึงระลึกด้วยความภาคภูมิใจ ปลุกใจให้เกิดความรักและหวงแหนชาติบ้านเมือง
และพร้อมที่จะสละชีวิตและเลือดเนื้อเป็นชาติพลี ตลอดจนส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ทหาร ทั้งเป็นที่ชื่นชมยินดีของปวงชนชาวไทยอีกด้วย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้ วันที่ ๒๕ มกราคม ซึ่งตรงกับวันกระทำยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของทุกปีเป็นวันกองทัพ ไทย ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๔
ในส่วนของกองทัพบก เดิมกำหนดให้วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันที่กองทัพไทยฉลองชัยชนะ
กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส โดยกระทำพิธีสวนสนามรับมอบดินแดนในอินโดจีนที่จังหวัดพระตะบอง เป็นวันกองทัพบกตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๔ สภากองทัพบกได้เสนอ
ขอวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดี เป็นวันกองทัพบก ซึ่งผลการคำนวณในขณะนั้นตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๑๓๕ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การกระทำยุทธหัตถีครั้งนั้น นับเป็นการยุทธ์ทางบกครั้งยิ่งใหญ่ ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้รับการกล่าวขวัญและสรรเสริญโดยทั่วไป วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่มีความสำคัญยิ่งต่อปวงชนชาวไทย เป็นวันที่คนไทยพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณด้วยความภาคภูมิใจ สำนักนายก รัฐมนตรีจึงประกาศให้วันที่ ๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพบก
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรีได้ลงมติอนุมัติให้วันที่ ๒๕ เมษายน ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและวันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปีเป็นวันยุทธหัตถี ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักฐานที่ราชบัณฑิตยสถานและคณะกรรมการเอกลักษณ์ ของชาติเสนอ ซึ่งเป็นผลทำให้ประวัติศาสตร์ของวันยุทธหัตถีเปลี่ยนไป ดังนั้น เพื่อดำรงความมุ่งหมายเดิมในการกำหนด
วันที่ระลึกกองทัพไทยและกองทัพบก รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กระทรวง
กลาโหมและกองทัพบก จึงได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยและวันกองทัพบก จากเดิมวันที่ ๒๕ มกราคม เป็นวันที่ ๑๘ มกราคม ของทุกปี โดยเริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นต้นไป
การกำหนดชื่อค่ายทหารและการสร้างอนุสาวรีย์
พระ นาม “นเรศวร” นอกจากจะเป็นที่ครั่นคร้ามของศัตรูในสมัยโบราณแล้วกองทัพบกยังถือเป็น “มหามงคลนาม” และได้นำมาใช้ในกิจการด้านการทหาร เพื่อความเป็นมงคลอย่างสูง เช่น การใช้เป็นชื่อแผนยุทธการ, การขอพระราชทานตั้งชื่อค่ายทหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพภาคที่ ๓ ที่พิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองที่ทรงพระราชสมภพ ว่า “ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ และได้จัดสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่านประดิษฐาน เป็นที่เคารพสักการะของกำลังพล และประชาชนทั่วไป ไว้ภายในค่ายแห่งนี้ด้วย นอกจากนี้ในบริเวณค่ายโสณบัณฑิตย์ของกองพันทหารราบที่ ๕ กรมทหารราบที่ ๗ ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังได้ จัดสร้างอนุสาวรีย์ของพระองค์ท่าน เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
และเป็นศูนย์รวมแห่งความจงรักภักดีของกำลังพลและประชาชนทั่วไป
“วันกองทัพไทย” และ “วันกองทัพบก” ซึ่งเป็นวันครบรอบวาระที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะแผ่พระบารมีให้ปรากฎในประวัติศาสตร์ชาติไทยนี้ จึงเป็นวันสำคัญที่กำลังพล
ในกองทัพทุกนายจะได้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ อันสำคัญยิ่งที่จะรักษาหวงแหนปกป้องบ้านเมืองและ
สืบทอดเจตนารมณ์ของพระองค์ท่าน เพื่อรักษาแผ่นดินนี้ให้เป็นมรดกของลูกหลานไทยสืบไป
|