[x] ปิดหน้าต่างนี้
 

      
 
  

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 
 

โครงสร้างหลักสูตรหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551
ที่
สาระการเรียนรู้
จำนวนหน่วยกิต
ประถม
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
วิชาบังคับ
วิชาเลือก
วิชาบังคับ
วิชาเลือก
วิชาบังคับ
วิชาเลือก
1
ทักษะการเรียนรู้
5
 
5
 
5
 
2
ความรู้พื้นฐาน
12
 
16
 
20
 
3
การประกอบอาชีพ
8
 
8
 
8
 
4
ทักษะการดำเนินชีวิต
5
 
5
 
5
 
5
การพัฒนาสังคม
6
 
6
 
6
 
 
รวม
36
12
40
16
44
32
48 หน่วยกิต
56 หน่วยกิต
76 หน่วยกิต
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
100 ชั่วโมง
100 ชั่วโมง
100 ชั่วโมง

หมายเหตุ
วิชาเลือกและวิชาบังคับในแต่ละระดับสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียน เรียนรู้จากการทำโครงงาน จำนวนอย่างน้อย 3 หน่วยกิต

การลงทะเบียนเรียนรายวิชา

       การลงทะเบียนเรียนตามโครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ให้ลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชาและตามจำนวนหน่วยกิต ในแต่ละภาคเรียนดังนี้
       1. ระดับประถมศึกษา ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต
       2. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 16 หน่วยกิต
       3. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต ให้ลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 20 หน่วยกิต

วิธีการจัดการเรียนรู้

         วิธีการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จะมีวิธีเดียว คือ “วิธีเรียน กศน.” ที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ เช่น
         -   การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม
         -   การเรียนรู้ด้วยตนเอง
         -   การเรียนรู้แบบทางไกล
         -   การเรียนรู้แบบชั้นเรียน
         -   การเรียนรู้แบบอื่นๆ
         ซึ่งในแต่ละรายวิชา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือหลายรูปแบบก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษาด้วย

หลักฐานการสมัคร    
           สถานศึกษาจะต้องตรวจสอบหลักฐานการสมัครเข้าเป็นนักศึกษาให้ถูกต้องครบถ้วนดังนี้
           1. ใบสมัครเป็นนักศึกษา
           2. รูปถ่าย 1 นิ้วจำนวน 4 รูป หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำและไม่สวมหมวก  สวมเสื้อสีขาวมีปกหรือชุดสุภาพ (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน โดยไม่ใช้รูปถ่ายประเภทโพลาลอยด์)  เพื่อใช้ติดใบสมัคร 1 รูป ติดบัตรประจำตัว 1 รูป ติดสมุดประจำตัวนักศึกษา 1 รูป และสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นอีก  1 รูป
           3.  สำเนาทะเบียนบ้านตนเองที่มีชื่อบิดา มารดา พร้อมฉบับจริงไปแสดง
           4.  สำเนาหนังสือสำคัญแสดงวุฒิการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ เช่น ประกาศนียบัตร  ระเบียนแสดงผลการเรียน  พร้อมฉบับจริงไปแสดง
           5.  สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง  พร้อมฉบับจริงไปแสดง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ใบทะเบียนสมรส  ใบหย่า ฯลฯ

สถานที่รับสมัคร

           1.  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ
           2.  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล
           3.  สถานที่ที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำหนด

การปฏิบัติตนของนักศึกษา ในระหว่างเป็นนักศึกษา กศน. 
        ผู้เรียนในสถานศึกษา  สังกัดของสำนักงาน กศน. จังหวัดฉะเชิงเทรา  และสถานศึกษาในสังกัด  จะต้องปฏิบัติตนตามระเบียบของสถานศึกษาอย่างเคร่งครัด  ดังนี้
        1.  การแต่งกายสุภาพหรือแต่งกายตามระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา
        2.  การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม
        3. ให้ความเคารพเชื่อฟังครูผู้สอน  และให้ความเคารพผู้บริหารสถานศึกษา
        4.  รักษาไว้ซึ่งความสามัคคีระหว่างกันในหมู่คณะ
        5. ไม่เล่นการพนันหรือมีอุปกรณ์การพนันไว้ในครอบครอง
        6.  ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่  และสิ่งเสพติดอื่นใดในสถานศึกษา และสถานที่พบกลุ่ม
        7. ไม่ประพฤติตนขัดต่อศีลธรรมอันดีหรือกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ
        8. ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่สถานศึกษาที่ตนสังกัดอยู่
        9. ไม่ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น
      10. ไม่ทำให้ทรัพย์สินของสถานศึกษาชำรุดเสียหาย

การย้ายสถานศึกษาของนักศึกษา 

        การย้ายสถานศึกษาสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ
        1.  การย้ายสถานศึกษาโดยการลาออก มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
             1.1  ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องต่อสถานศึกษาด้วยตนเองและเตรียมหลักฐานเอกสารที่ต้องใช้ดังนี้
                        1.1.1  ใบคำร้องขอลาออกจากสถานศึกษา
                        1.1.2  รูปถ่ายหน้าตรงขนาด  4x5  เซนติเมตร  จำนวน 2 รูปหน้าตรง
(ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ  ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน  ไม่ใช้รูปด่วน หรือรูปโพลาลอยด์)
             1.2  สถานศึกษาจะต้องตรวจสอบหลักฐานผลการเรียนให้ถูกต้อง  และออกหลักฐานแสดงผลการเรียนให้แก่ผู้เรียนอย่างช้าไม่เกิน  5 วันทำการ  เว้นแต่จะมีเหตุสุดวิสัย
             1.3  กรณีที่ผู้เรียนไม่สามารถยื่นคำร้องได้ด้วยตนเองให้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้
             1.4  ให้สถานศึกษาระบุเหตุผลที่ออกในหลักฐานการศึกษาว่า  “ลาออกเพื่อไปศึกษาต่อที่อื่น”

        2.  การย้ายสถานศึกษาระหว่างภาคเรียน  สามารถดำเนินการได้  เมื่อผู้เรียนมีความจำเป็นต้องย้ายสถานที่เรียนจากที่เดิมในระหว่างภาคเรียนและยังคงสถานภาพการเป็นผู้เรียนของสถานศึกษาเดิม  โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้
             2.1  ให้ผู้เรียนยื่นคำร้องต่อสถานศึกษาเดิม  เพื่อขอย้ายสถานที่เรียน
             2.2  สถานศึกษาเดิมพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ย้ายได้  โดยจะต้องทำหนังสือส่งตัวผู้เรียนพร้อมเอกสารสรุปการประเมินผลระหว่างภาคและกิจกรรม กพช. รวมทั้งผลการเรียนอื่น ๆ ในภาคเรียนนั้นไปยังสถานศึกษาแห่งใหม่ตามแบบที่สถานศึกษากำหนด  ทั้งนี้อย่างช้าไม่เกิน  7 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ผู้เรียนยื่นคำร้อง
             2.3  สถานศึกษาแห่งใหม่รับตัวผู้เรียนไว้และแจ้งผลการรับผู้เรียนให้สถานศึกษาเดิมทราบ
             2.4  สถานศึกษาแห่งใหม่จัดให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่ต่อเนื่องจากสถานศึกษาเดิม
             2.5  ส่งผลการเรียนกลับมาที่สถานศึกษาเดิมเมื่อสิ้นสุดภาคเรียนนั้น
             2.6  สถานศึกษาเดิมได้รับผลการเรียนแล้วบันทึกผลการเรียนเก็บไว้เป็นหลักฐาน       อนึ่ง  ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน  เช่น  ย้ายไปปฏิบัติงาน  กลับภูมิลำเนา  สามารถขอย้ายสถานที่เรียนชั่วคราวได้ 1 ภาคเรียน หากเกิน 1 ภาคเรียนสถานศึกษาควรแนะนำให้ผู้เรียนใช้วิธีการลาออกจากสถานศึกษาเดิมไปเป็นผู้เรียนของสถานศึกษาแห่งใหม่ และศึกษาต่อเนื่องจนจบหลักสูตร        

การยื่นคำร้องขอจบการศึกษา
        เมื่อผู้เรียนสอบผ่านเกณฑ์ที่ครบรายวิชาบังคับ วิชาเลือก ทำกิจกรรม กพช. ครบ 200 ชั่วโมง ผ่านการประเมินคุณธรรม และผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ เรียบร้อยแล้ว  จะต้องยื่นคำร้องขอจบการศึกษาและขอรับใบประกาศนียบัตรที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ  โดยนำหลักฐานต่อไปนี้มาประกอบ
        1. รูปถ่ายขนาด  1.5 นิ้ว จำนวน  2 รูป  ถ่ายไว้ไม่เกิน  6 เดือน  สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวไม่มีลวดลายและอักษรปักใด ๆ หรือเครื่องแบบชุดสากล พร้อมเขียน ชื่อ-นามสกุลหลังรูป (ไม่ใช้รูปถ่ายด่วนหรือโพลาลอยด์)
        2. ใบประกาศนียบัตร หรือใบ รบ. ที่เป็นวุฒิก่อนเข้าเรียน  ถ่ายสำเนา  1 ฉบับ พร้อมนำฉบับจริงมาแสดงด้วย
        3.  สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน  1 ฉบับ
        4. บัตรประจำตัวนักศึกษา
        5. ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี) ถ่ายสำเนา  1 ฉบับ พร้อมฉบับจริงมาแสดงด้วย  

การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา 
        นักศึกษาจะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาเมื่อ
        1. สำเร็จการศึกษา
        2. ลาออก
        3. ตาย
        4. ออกตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา
        5. ไม่ลงทะเบียนเพื่อรักษาสภาพเป็นนักศึกษาเป็นเวลา 6 ภาคเรียนติดต่อกัน
        6.  ขาดคุณสมบัติการเป็นนักศึกษา กศน.      


เข้าชม : 8762
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองสตูล  (กศน.อำเภอเมืองสตูล)
ที่อยู่ 168 หมู่ที่ 4  ตำบลคลองขุด   อำเภอเมือง   จังหวัดสตูล   91000   โทรศัพท์ 074-772202  โทรสาร  074-730735 
  websitehttp://satun.nfe.go.th/msatun  
  e-mail : m.satun@hotmail.com
สล็อตเว็บตรง Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05