.

กศน.ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ยินดีต้อนรับ

 
 
 
 
 
 
 
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ ?
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยมาก
 

 
 
เมษายน 2567
อา พฤ
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 20 เมษายน 2567
  หน้าหลัก     
 

บทบาทหน้าที่ภารกิจ

กศน. ตําบล ยึดการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐานในการดําเนินงานและจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการ ความร่วมมือของชุมชนและภาคีเครือข่าย เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีมีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยส่งเสริม สนับสนุน ให้ทุกภาคส่วนในชุมชนสังคมเข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดําเนินกิจกรรม กศน. ตําบลทั้งในฐานะผู้ให้บริการผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน มีคณะกรรมการ กศน.ตําบล ที่เป็นคนในชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุน ติดตาม ดูแล และร่วมประเมินผล การดําเนินงาน กศน.ตําบล ภายใต้กลไก การขับเคลื่อนการดําเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 ศูนย์ ดังนี้

1.  ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล  เป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้รวบรวมขยายผลเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่และการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทตามแนวพระราชดําริและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่องมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการการทํางานและประสาน ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน เช่น กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ. รมน.) มูลนิธิครอบครัวพอเพียง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบล ดําเนินการ ใน 2 ลักษณะ ได้แก่

            1.1  ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบลที่ดําเนินการในพื้นที่ตั้งของ กศน. ตําบล

            1.2 ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบลที่ดําเนินการโดยใช้แหล่งการเรียนรู้นอกพื้นที่ตั้งของ กศน. ตําบล ซึ่งเป็นการประสานงานและดําเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งนี้เพื่อให้การขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจําตําบลสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

2. ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตําบล

       ศูนย์ส่งเสริมพฒนาประชาธิปไตยตําบลมีหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้รวบรวม ขยายผลเชื่อมโยง สร้างเครือข่าย และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เสริมสร้างความเข้าใจในสทธิ ิหน้าที่ วินัย และความเป็นพลเมืองในวิถีระบอบประชาธิปไตยโดยบูรณาการความร่วมมือในการทํางานร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น สํานักงาน กกต. สภาพัฒนาการเมือง (สพม.) ภาคประชาสังคม ซึ่งมีแนวทางการดําเนินงาน ดังนี้

              2.1  จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตําบล  

              2.2 จัดกระบวนการเรียนรู้โดย กศน.เพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตย

              2.3  จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับกกต. เพื่อส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยในระดับตําบล

              2.4  สรุปผล รายงาน และเผยแพร่ผลการดําเนินงาน

  3. ศูนย์ดิจิทัลชุมชน

         ศูนย์ดิจิทัลชุมชน เป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตและศูนย์บริการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ให้แก่นักศึกษา กศน.และประชาชนเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย การสืบค้นข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร การบริหารจัดการ เพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์สู่การค้าออนไลน์ (e - Commerce) เป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจําหน่ายและไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคดิจิทัล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดําเนินชีวิตการประกอบอาชีพ และอื่น ๆ โดยร่วมมือกับเครือข่าย เช่น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีแนวทางการดําเนินงาน ดังนี้

          3.1  กิจกรรมให้ความรู้ด้าน ICT แก่นักศึกษา กศน. และประชาชนในชุมชน

          3.2  จัดเก็บ วิเคราะห์และเผยแพร่ระบบสารสนเทศชุมชน

          3.3  กิจกรรมการให้ความรู้ด้าน  e – commerce และการจัดทําเว็บไซต์  การบริการด้านต่าง ๆ ของชุมชน

          3.4  สรุปผล รายงาน และเผยแพร่ผลการดําเนินงาน

4.   ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน

        ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน เป็นศูนย์จัดส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดําเนินงานและการจัดการเรียนรู้ตลอดจนการระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนและภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดย กศน. ตําบลมีบทบาทในฐานะผู้จัด ส่งเสริม ประสานงานและอํานวยความสะดวก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

         4.1  การศึกษานอกระบบ

                   1) การส่งเสริมการรู้หนังสือตาม ระเบียบและแนวปฏิบัติของการจัดการศึกษานอกระบบ สําหรับกลุ่มผู้ไม่รู้หนังสือและผู้ลืมหนังสือ

                   2) การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                      2.1) ประถมศึกษา

                      2.2) มัธยมศึกษาตอนต้น

                      2.3) มัธยมศึกษาตอนปลาย

                   3) การศึกษาต่อเนื่อง แบ่งเป็น

                         3.1)  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพตามแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                         3.2) การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตตามแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

                         3.3)  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ตามแนวทางในการจัดการศึกษา  เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

                     4) การศึกษาตามอัธยาศัย

                         4.1)   การส่งเสริมการอ่าน

                         4.2)   จัดบริการสื่อ

                         4.3)   แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน

 

 
 
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อ.ส.ม.   สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์    สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์
สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส Thai PBS   สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. Bangkok Broadcasting & T.V. Co
 




----------------------------
 

นางสาวจิตรลดา สันโต๊ะเหล็บ

 

 กศน.สตูล มุ่งสร้างสรรค์ สังคมอุดมปัญญา   NFE_SATUN   Create by OBECLMS    Modify by Mr.kamron
ศกร.ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
ศกร.ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
Tel : ๐๗๓-๒๑๒๗๓๒  Fax : ๐๗๓-๒๔๗๒๓๙
Email : @nfe.go.th