ลักษณะทางธรณีวิทยา
ลักษณะทางธรณีวิทยาจังหวัดสตูล
พื้นที่จังหวัดสตูล มีทั้งส่วนที่เป็นพื้นที่บกและส่วนที่เป็นพื้นที่ทะเล โดยส่วนของพื้นที่ทะเลประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่มากถึง ๑๐๕ เกาะ หินโผล่เกือบทั้งหมดเป็นหินตะกอนทั้งที่เป็นหินตะกอนเนื้อประสม(clastic sedimentary rocks)ได้แก่ หินทราย หินโคลน และหินดินดานและหินตะกอนเนื้อประสาน(chemicalsedimen-tary rocks) ได้แก่ หินปูน และหินเชิร์ต ทั้งนี้บางบริเวณพบหินทรายถูกแปรสภาพเป็นหินควอร์ตไซต์เป็นพื้นที่ไม่ กว้างขวางนัก โดยมีหินแกรนิตซึ่งเป็นหินอัคนีแทรกซอนแทรกดันขึ้นมาโผล่ให้เห็นโดดเด่นในพื้นที่ด้านตะวันออกของจังหวัดเขตแดนไทย-มาเลเซีย และยังพบโผล่เป็นเกาะทางด้านตะวันตกสุดของพื้นที่จังหวัดที่เกาะอาดัง เกาะราวีและเกาะหลีเป๊ะ หินตะกอนในหลายบริเวณพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลที่หลากหลายชนิดที่สามารถ ระบุอายุได้อยู่ในช่วงมหายุคพาลีโอโซอิก ทั้งนี้บริเวณลุ่มน้ำที่ราบต่ำและพื้นที่ต่อเนื่องไปจนถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันถูกปิดทับด้วยตะกอนธารน้ำและตะกอนชายฝั่งทะเลยุคควอเทอร์นารี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนพื้นที่บกทางด้านตะวันตกต่อเนื่องไปจนถึงทางด้านใต้ของพื้นที่จังหวัดจนติดชายแดนไทย-มาเลเซีย หินตะกอนทั้งหมดเหล่านี้ ได้มีการศึกษาพบว่า มีอายุอยู่ในช่วงมหายุคพาลีโอโซอิกตั้งคำแต่ยุคแคมเบรียนต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงยุคเพอร์เมียน ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มหินและหมวดหินต่างๆ เรียงตามลำดับตามการลำดับชั้นหินจากหมวดหินที่แก่ที่สุดไปหาหมวดหินที่อ่อนที่สุด มีหินแกรนิตแทรกดันขึ้นมาในช่วงยุคไทรแอสซิกและตะกอนยุคควอเทอร์นารี พบการกระจายตัวและการลำดับชั้นหิน
รูปที่ ๒ แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดสตูล