อุทยานธรณีโลก

อุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geopark) 

             อุทยานธรณีโลกอาศัยคุณค่าของมรดกทางธรณีวิทยา (Geological Heritage) ร่วมกับคุณค่าของมรดกทางธรรมชาติวิทยา และคุณค่าทางวัฒนธรรมในพื้นที่ ในการเสริมสร้างให้เกิดความตระหนักรู้ และความเข้าใจขึ้นในประเด็นสำคัญ ที่อาจเกิดขึ้นในสังคม  เช่น การใช้ทรัพยากรในโลกอย่างยั่งยืน การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในสภาพอากาศโลก และลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อยกระดับความตระหนักรู้ของประชาชนให้เห็นความสำคัญของมรดกทางธรณีวิทยาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อุทยานธรณีระดับโลกของยูเนสโกทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจในตัวเอง และทำให้เอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นกับพื้นที่อุทยานธรณีมีความเข็มแข็งมากขึ้น การสร้างวิสาหกิจชุมชนโดยมีนวัตกรรมใหม่ การสร้างงานใหม่ การสร้างหลักสูตรการอบรมที่มีคุณภาพสูง จะถูกสนับสนุน และพลักดันจนกลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของชุมชนผ่านการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ในขณะเดียวกันทรัพยากรธรณีวิทยาก็ได้รับการปกป้องและอนุรักษ์ไปพร้อมกัน



 ความเป็นมาของอุทยานธรณีโลก

                    อุทยานธรณีเกิดมาภายใต้ปรัชญาการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะในส่วนที่มีความโดดเด่นทางธรณีวิทยาอันเป็นมรดกของโลก แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 และมีพัฒนาการเป็นการประกาศความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคผ่านทาง



                การป้องกันมรดกทางวิทยาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา (Geotourism) ของแหล่งสำคัญทางธรณีวิทยาในยุโรป พร้อมทั้งมีการก่อตั้ง European Geoparks Ketwork  (EGN) และมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการในความร่วมมือกับองค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2544 และต่อมาในปี 2547 อุทยานธรณีในประเทศยุโรป 14 แห่ง ได้ร่วมกับอุทยานธรณีระดับชาติของจีน 8 แห่ง ร่วมกันจัดตั้ง เครือข่ายอุทยานธรณีของโลก (Global Geoparks Network: GGN) ที่ดำเนินการโดย UNESCO เป็นเครือข่าย สนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญของโลก รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมต่อชุมชน ในระดับประเทศ โดยเป็นเครือข่ายประชาสัมพันธ์แหล่งอนุรักษ์ธรณีวิทยาที่มีความโดดเด่น สวยงามหรือมีความสำคัญ ทางธรณีประวัติของแต่ละประเทศ ให้กลายเป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ทางธรรมชาติระดับโลกโดยการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่น” ที่มีลักษณะเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก และสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวธรรมชาติในระดับโลกไปพร้อมกัน        



ปะการังเจ็ดสี  

                ภายใต้การสนับสนุนของยูเนสโก ปัจจุบัน (พฤษภาคม 2561) มีอุทยานธรณีระดับโลก (Global Geoparks) แล้วทั้งสิ้นทั่วโลก 140 แห่ง และมีสมาชิก 38 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 18 เม.ย.61) ทั้งในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชีย  และทวีปออสเตรเลีย ส่วนประเทศที่มีอุทยานธรณีระดับโลกมากที่สุด คือ จีน ซึ่งมีมากถึง 26 แห่ง โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแล้วจำนวน 5 แห่ง ใน 3 ประเทศ ประกอบด้วย มาเลเซีย 1 แห่ง, เวียดนาม 2 แห่ง, อินโดนีเซีย 4 แห่ง และประเทศไทย เพิ่งได้รับการประกาศให้มีอุทยานธรณีโลกเป็นแห่งล่าสุด  การดำเนินงานของเครือข่ายอุทยานธรณีมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าและ อนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยา สร้างงาน และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งตั้งเป้าให้มีสมาชิกอุทยานธรณีจำนวน 500 แห่งจากทั่วโลก 


 

          จากผืนทะเล ๕๐๐ ล้านปี สู่ขุนคีรียิ่งใหญ่ ผูกพันวิถีชีวิต ผู้คน

              


 



 
 
 ® สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูล
 @ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนา โดย นายคำรณ รูบามา นักเทคโนโลยีสารสนเทศ