หน้าหลัก |► วิถีชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว | 3 วิถีชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว |► 3.2 แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  |

วิถีชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

              ด้วยความโดดเด่นทางธรณีวิทยา ภูมิประเทศและธรรมชาติของอุทยานธรณีสตูล ก่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวแนวผจญภัย เช่น ล่องแก่ง ดำน้ำ เที่ยวถ้ำ การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่น้ำตก ชายหาด รวมถึงเลือกซื้อของฝากผลิตภัณฑ์ชุมชน และสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย 

              

 

1. ถ้ำเลสเตโกดอน

                                                                                                                                                                        

ถ้ำเลสเตโกดอน ตั้งอยู่ที่บ้านคีรีวง ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า เป็นถ้ำธารลอดที่อยู่ในเทือกเขาหินปูนทอดยาว ซึ่งมีการขุดค้นพบฟอสซิลของช้างสเตโดกอน จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำ รวมไปถึงซากพืช ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่อีกมากมาย ที่นี่ได้รับอิทธิพลจากระดับน้ำทะเลขึ้นลงทุกวัน การเข้าไปเที่ยวต้องอาศัยเรือยาง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ถือว่ายาวที่สุดในประเทศไทย ด้านในจะพบกับหินงอกหินย้อยรูปร่างประหลาดตา ความอัศจรรย์อยู่ตรงปากทางออกของถ้ำ ที่เป็นโพรงรูปหัวใจ จนเป็นคำพูดต่อ ๆ กันมาว่า “ตามหาหัวใจที่ปลายอุโมงค์     
       
             
2. ถ้ำภูผาเพชร

    

ถ้ำภูผาเพชร ถ้ำใหญ่กลางขุนเขา หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่เขาว่ากันว่าเป็นถ้ำใหญ่ติดอันดับโลก  ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด อำเภอมะนัง มีเนื้อที่ภายในถ้ำกว่า 50 ไร่ ภายในถ้ำมีความวิจิตรตระการตา เต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยที่ส่องแสงระยิบระยับสวยงามราวกับเพชร จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำภูผาเพชร โดยเฉพาะ ห้องแสงมรกต ซึ่งเมื่อเดินเข้าไปด้านในสุดจะเห็นเพดานถ้ำโหว่มีแสงส่องลงมากระทบกับหินสีเขียวก้อนใหญ่ตรงกลางห้อง กลายเป็นลานแสงมรกตแปลกตา

3. ถ้ำเจ็ดคต

    

             ถ้ำเจ็ดคต มีลักษณะเป็นถ้ำธารลอด คดเคี้ยวและทะลุผ่านภูเขา ผ่านสัณฐานถ้ำที่โดดเด่น 7 ลักษณะ ทำให้เป็นที่มาของชื่อถ้ำเจ็ดคต ยาวประมาณ 600 เมตร ที่ปากถ้ำสองด้านทะลุเข้าหากันลักษณะคล้ายอุโมงค์ ต้องล่องเรือเข้าไปในถ้ำเพื่อชมธรรมชาติและหินงอกหินย้อยสวยงาม บางมุมจะได้ตื่นตากับหาดทรายขาวระยิบระยับราวกับเพชร ส่วนลำคลองที่ไหลผ่านในถ้ำนั้นคือคลองมะนัง จะไหลไปบรรจบกับคลองลำงู ที่มีต้นน้ำเกิดจากภูเขาในจังหวัดตรัง นั่นเอง 

4. ปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่


          

           ปราสาทหินพันยอด เกาะเขาใหญ่ เป็นเกาะหินปูนกลางทะเล อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู ต้องนั่งเรือหางยาว หรือ พายคายัคเข้าไป เวลาที่น้ำลดจะสามารถลอดช่องหินเข้าไปชมความสวยงามของ “ปราสาทหินพันยอด” สิ่งอัศจรรย์สุดอันซีนที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้นจากการกัดเซาะหินของน้ำฝน จนกลายเป็นแท่งหินแหลมรูปร่างสวยงามแปลกตา คล้ายกับบนปราสาทในเทพนิยาย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าปราสาทหินพันยอด อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ธรณีวิทยา มีการพบฟอสซิลอายุมากกว่า 480 ล้านปี 

5. น้ำตกวังสายทอง               


          น้ำตกวังสายทอง อยู่ริมถนนทางไปล่องแก่งวังสายทอง ห่างจากถนนราว 100 เมตร เป็นนํ้าตกหินปูนขนาดกลาง ที่ตกลดหลั่นกันลงมาเป็นชั้นเล็กๆ โดยชั้นสูงสุดสูงราว ๖ เมตรจากพื้น แต่นํ้าตกแห่งนี้มีหน้านํ้าตกกว้าง มีต้นไม้ขึ้นปะปนอยู่กับหน้านํ้าตกและบริเวณโดยรอบ ทำให้บรรยากาศร่มรื่น เหมาะกับการเล่นนํ้านํ้าตกแห่งนี้มีนํ้าทั้งปี และด้วยธรณีสัณฐานย่านนี้เป็นภูเขาหินปูนนํ้าที่ทั้งนํ้าบนดินที่ชะละลายมากับพื้นหินปูนหรือนํ้าใต้ดิน ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกันโดยละลายสารละลายมาด้วย เมื่อไหลมารวมกันก็จะเริ่มเกาะสิ่งต่างๆ ตามทางนํ้า ใบไม้ กิ่งไม้ และสะสมกันเป็นขอบๆ แต่ละขอบก็จะเป็นชั้นเล็กๆ 

6. เขาทะนาน

          เขาทะนาน อยู่ในพื้นที่บ้านมะหงัง ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เป็นภูเขาหินปูนตั้งอยู่โดดเด่น โดยไม่มีภูเขาข้างเคียง รูปลักษณ์เป็นภูเขาที่มีหน้าผาที่มีหินย้อยริมหน้าผาด้านหนึ่ง รูปร่างของเขาทะนานนั้นดูเหมือนกับเป็นแท่งหินขนาดใหญ่มากกว่า ด้านฐานมีเว้าเข้าไป (เว้าทะเล)จนดูฐานคอด ตั้งเด่นเป็นสง่า เพราะโดยรอบเป็นหน้าผาทั้งหมด  

7. ศาลโต๊ะสามยอด


          ศาลโต๊ะสามยอด อยู่ในพื้นที่ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เป็นศาลเจ้าอยู่ริมทางคล้ายเจ้าที่ที่คนในพื้นที่ให้ความเคารพนับถือใครขับรถผ่านไปมาก็บีบแตรเพื่อทำความเคารพ มีรูปปั้นบุคคลแล้วสร้างศาลาไว้กันแดดกันฝน ตั้งอยู่ริมทางข้างภูเขาหินปูนลูกเตี้ยๆที่นี่จะมีกองหินปูนที่หักตกลงมากองอยู่บนนั้น ใกล้ศาลมากมาย หินปูนเหล่านี้มีฟอสซิลของนอติลอยด์ ซึ่งเป็นสัตว์ยุคออร์โดรวิ ซึ่งเป็นยุคที่นอติลอยด์ครองโลกก็ว่าได้ ซากฟอสซิลนอติลอยด์ที่นี่ จะเห็นช่องนํ้าในร่างกายชัดเจน นอกจากนี้ยังมีซากพลับพลึงทะเลและฟอสซิลสิ่งมีชีวิตร่วมสมัยอีกหลายชนิดอีกด้วย 

8. เขาน้อย

         ริมฝั่งทางสายที่แยกออกจากถนนสาย 416 (ทุ่งหว้า-ละงู) จากบริเวณกิโลเมตรที่ 11 ไปทางทิศตะวันออก อยู่ระหว่าง กม.ที่ 0.5 ไปจนถึงประมาณ กม.ที่ 1.5 รวมพื้นที่แหล่งประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอละงูไปทางเหนือเป็นระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่ริมทางหมายเลข 3028 ระหว่างพื้นที่ของ อบต.ป่าแก่บ่อหิน กับ อบต.กำแพง ปัจจุบันนี้มีร่องรอยของการขุดเอาหินไปใช้ประโยชน์ หินที่เห็นชั้นล่าง ที่เป็นลักษณะเป็นบ่อที่ถูกขุดไปนั้น จะเป็นหินดินดาน เป็นแผ่นๆ เวลาแกะหรือลอกออกก็จะเป็นแผ่น หินพวกนี้ โดยปกติจะเป็นสีดำ แต่ก็มีบางชิ้น บางก้อนที่เราจะเห็นเป็นสีส้มบ้าง สีออกเหลื่อมเขียวบ้าง 

9. อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

         อุทยานแห่งชาติตะรุเตา  มีเนื้อที่ครอบคลุมเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ และเกาะใหญ่เกาะน้อย 51 เกาะ ในเขตติดต่อกับเขตประเทศมาเลเซียเข้าไปด้วยกัน เป็นหมู่เกาะที่อยู่ใต้สุดของไทยทางฝั่งทะเลอันดามัน ห่างจากเขตแดนมาเลเซียเพียง 4.8 กม. เท่านั้น มีพื้นที่ทั้งบนเกาะและในทะเลรวม 931,250 ไร่ หรือ 1,490  ตารางกิโลเมตร โดยมีเกาะใหญ่ๆ 2 เกาะหลักๆ คือเกาะตะรุเตา และกลุ่มหมู่เกาะอาดัง-ราวีอุทยานแห่งชาติตะรุเตามีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมาก ทั้งในแง่ประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของไทยในอดีต คือเมื่อภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ..2475 โดยกลุ่มคณะราษฏร์ที่นำกำลังยึดอำนาจแล้วเกิดความขัดแย้งกันในสังคมผู้ปกครอง มีการพยายามจะยึดอำนาจกันหลายครั้ง ครั้งที่เรียกว่า กบฏบวรเดช ที่นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ก่อการในเดือนตุลาคม 2476 แต่ถูกฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้นปราบปรามจนสำเร็จ ก็มีการจับกุมผู้คนที่คาดว่าเกี่ยวข้อง เข้าคุมขัง และก็ยังเกิดการพยายามยึดอำนาจอีกหลายครั้งตามมาก็มีคนถูกจับตามมาเช่นกันในปี พ..2497 รัฐบาลขณะนั้น ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นโจรผู้ร้ายกรมราชทัณฑ์ จึงหาสถานที่ที่มีภูมิประเทศจึงหาสถานที่ที่มีภูมิประเทศเหมาะสม ซึ่งในที่สุดได้เลือกเกาะตะรุเตาเพื่อจัดตั้งขึ้นเป็นทัณฑสถาน โดยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2480 กลุ่มบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ ภายใต้การนำของขุนพิธานทัณฑทัย ได้ขึ้นสำรวจเกาะตะรุเตาบริเวณอ่าวตะโละอุดังและอ่าวตะโละวาว เพื่อจัดทำเป็นทัณฑสถานในขณะนั้นบนเกาะตะรุเตาเต็มไปด้วยป่าที่รกทึบ ตามรูปแบบป่าบนเกาะทั้งหลาย สัตว์ป่าและไข้มาเลเรียก็ชุกชุม คณะผู้บุกเบิก ใช้เวลา 11 เดือน ในการจัดสร้างทัณฑสถานขึ้นจนแล้วเสร็จก่อนนั้น เกาะตะรุเตาก็มีชาวบ้านมาอยู่อาศัยบ้างแต่ไม่มาก ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบนเกาะนี้ เพื่อประโยชน์แก่การราชทัณฑ์โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 หน้า566 ลงวันที่ 29พฤษภาคม 2482 ปลายปี พ..2482 เกาะตะรุเตาจึงเป็นเกาะที่อยู่ในการดูแลของกรมราชฑัณฑ์ทั้งหมด พอสร้างทัณฑสถานบนเกาะตะรุเตาเสร็จแล้ว ทางการจึงส่งนักโทษการเมืองจากคดีกบฏบวรเดช (..2476) และกบฏนายสิบ (..2478) จำนวน 70 นาย ให้มายังเกาะตะรุเตา ให้อยู่ที่ทัณฑสถานอ่าวตะโละอุดังต่อมาได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ทางด้านเอเชียเป็นสงครามเอเชียบูรพา (..2484-2488) ในบ้านเมืองก็เกิดความขาดแคลน ขัดสนไปหลายอย่าง เกาะตะรุเตาก็เลยถูกตัดขาดออกจากแผ่นดินใหญ่ไปด้วย การส่งเสบียง ยารักษาโรคก็พลอยขาดแคลน ปี พ..2487 ผู้คุมและนักโทษบนเกาะจึงทำการออกปล้นสดมภ์เรือบรรทุกสินค้าที่ผ่านไปมาย่านนั้น ทำการอย่างโหดเหี้ยม จนเกิดเรื่องรํ่าลือกันไปในหมู่คนเรือที่เดินเรือผ่านย่านนี้ถึงความร้ายกาจของโจรสลัดตะรุเตา จึงมีการร้องเรียนไปยังรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองมาเลเซียในขณะนั้น จนในที่สุดรัฐบาลไทยและทหารอังกฤษได้เข้าปราบโจรสลัดบนเกาะตะรุเตาสำเร็จเมื่อปี พ.. 2489 หลังจากนั้นอีก 2 ปีต่อมา กรมราชทัณฑ์ จึงได้ยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา ในปี พ.. 2515 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ในขณะนั้น) จึงเสนอให้จัดที่ดินบริเวณเกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี และเกาะอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันให้เป็นอุทยานแห่งชาติ          


           11 .. 2516 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงให้ นายบุญเรือง สายศร นักวิชาการป่าไม้ตรี และนายปรีชา รัตนาภรณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการจัดตั้งเกาะดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยขอถอนสภาพจากการเป็นเขตหวงห้ามเพื่อการราชทัณฑ์ แล้วจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามพื้นที่ที่บอกไปแต่ต้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 91 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 19 เมษายน 2517 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 8 ของประเทศไทยพื้นที่เกาะในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาหินปูนที่มีรูปร่างน่าสนใจ หาดทรายชายทะเล สวยงามจนขึ้นชื่อ แต่ละเกาะมีความสวยงามจนเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักท่องเที่ยวในระดับโลกเช่น เกาะหลีเป๊ะ เกาะราวี (ทรายขาว) .. 2525 UNESCO ได้ยกย่องหมู่เกาะตะรุเตาให้เป็น มรดกแห่งอาเชียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)

10. พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า

    

พิพิธภัณฑ์ ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า เป็นที่รวบรวมซากดึกดำบรรพ์ที่ขุดพบในพื้นที่ เช่น ชิ้นส่วนของกรามช้างสเตโกดอน, กรามของแรด, ขวานหินโบราณซึ่งถือได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ทางธรณีวิทยาและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของอีกแห่ง โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ได้ก่อสร้างตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้าไว้ในบริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของ อบต.ทุ่งหว้า ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า เปิดให้ชมฟรี ทุกวันจันทร์ วันศุกร์ เวลา08.30 – 16.30 น. การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เริ่มขึ้นหลังจากได้พบฟอสซิลช้างสเตโกดอน ชิ้นแรกในปี 2551 จากนั้นในปีต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้เสด็จมายัง อ.ทุ่งหว้า ทาง อบต.ทุ่งหว้าได้จัดนิทรรศการและถวายรายงานการค้นพบฟอสซิ ลกระดูกฟันช้างสเตโกดอน สมเด็จพระเทพรัตนฯ ตรัสแก่คณะ อบต.ทุ่งหว้าให้อนุรักษ์รักษาสิ่งเหล่านี้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ จึงเป็นที่มาของการสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น

           ภายในพิพิธภัณฑ์ การจัดแสดงการเสด็จมาเยือนจังหวัดสตูลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับช้างต้นคู่พระบารมีของพระองค์ ตามมาด้วยประวัติความเป็นมาของอำเภอทุ่งหว้า การจัดแสดงเกี่ยวกับยุคดึกดำบรรพ์โดยเริ่มจากขวานหินของมนุษย์โบราณ ช้างดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย และช้างดึกดำบรรพ์ที่พบในจังหวัดสตูล นั้นเป็นแหล่งแรกๆที่พบซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตของแต่ละยุคไม่ว่าจะเป็น ยุคแคมเบรียน ยุคออร์โดวินเชียน ยุคไซลูเรียน ยุคดีโวเนียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส และยุคเพอร์เมียน ได้พบทั้งสาหร่ายทะเลดึกดำบรรพ์ แมงดาทะเลดึกดำบรรพ์ หอยทะเลดึกดำบรรพ์ ปลาหมึกทะเลดึกดำบรรพ์ 

11. สถาปัตยกรรมโบราณ อาคารชิโนโปรตุกีสทุ่งหว้า

       สถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส (Sino-Portuguese) คือรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายู ในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมตะวันตก สามารถพบเห็นได้ในเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือมาเก๊า รวมไปถึงภาคใต้ของประเทศไทย สำหรับจังหวัดสตูลมีให้เห็นที่อำเภอทุ่งหว้าและอำเภอเมือง ในสมัยพระยาภูมินารถภักดีเป็นเจ้าเมือง ได้ส่งเสริมให้สุไหงอุเป หรือ ทุ่งหว้า เจริญรุ่งเรือง ตึกชิโนโปตุกิสที่ทุ่งหว้า ออกแบบและสร้างโดยนายช่างจีนที่มาจากปีนัง โดยนำวัสดุก่อสร้างเกือบทั้งหมดมาจากปีนัง ตึกชิโนโปรตุกิสที่ทุ่งหว้ามีสองแบบ คือ เป็นลักษณะตึกแถวหรือห้องแถว 2 ชั้น และชั้นเดียว ที่คงเหลือให้เราได้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เริ่มต้นครั้งแรกทำการก่อสร้างทางทิศตะวันตกของถนน โดยเริ่มจากทางด้านใต้ก่อน คือก่อสร้างจากที่ไกลเข้ามา และก่อสร้างโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีแผนผังที่กำหนดเอาไว้ก่อนแล้ว (บริเวณนี้เรียกว่าหัวลาด หรือบางทีเรียกว่า ตึกหลวง สร้างชั้นเดียว 4 หลัง สร้าง 2 ชั้น 6 หลัง ราคาขายชั้นเดียว 300 บาท สองชั้น ราคา 500 บาท (พื้นที่ใช้สอยของอาคารไม่เท่ากัน)) ตึกเหล่านี้ในอดีตเคยเป็นร้านขายยาสมุนไพร ร้านขายของชำ ที่พักอาศัย ส่วนอาคารหลังอื่นๆ สร้างโดยเอกชน 

          อาคารอื่นที่สร้างคู่มากับอาคารชิโนโปตุกิส คือ บ่านซ่าน (BARZAAR) อาคารหลังใหญ่ ซึ่งทำเป็นตลาด ส่วนอาคารเก็บภาษี หรือด่านศุลกากรนั้น ไม่มีหลักฐานอ้างอิงหรือกล่าวถึง ปัจจุบันได้รื้อถอนออกไป เช่นกัน คงเหลือแต่ซากของถังเก็บน้ำของด่านศุลกากรเท่านั้น 

      

     

 


 

บรรณานุกรม

ทรงภพ  วารินสะอาด. (ม.ป.ป.). อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark).จังหวัดสตูล : ม.ป.ท.

(อัดสําเนา)

อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต. แหล่งที่มา : http://www.satun-geopark.com/ สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2563

สำนักงาน กศน.จังหวัดสตูล. 2560. อุทยานธรณีสตูล 3 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. จังหวัดสตูล : ม.ป.ท.



   


 

 

 



 
 
 ® สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูล
 @ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนา โดย นายคำรณ รูบามา นักเทคโนโลยีสารสนเทศ