หน้าหลัก |► ประเพณีและวัฒนธรรม | 4 ประเพณีและวัฒนธรรม |► 4.3 ประเพณีและวัฒนธรรมในจังหวัดสตูล |
 

ประเพณีและวัฒนธรรม
 
 
ระเพณีและวัฒนธรรมในจังหวัดสตูล

                  มรกดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสตูลที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันมีหลายลักษณะ เช่น ด้านวรรณกรรม ศิลปะกรรม การละเล่นพื้นบ้าน สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ฯลฯ อันแสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ชนรุ่นหลังสามารถศึกษา สืบค้นความเป็นมาและนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์ความสุข ความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตสืบมา  

                 1) งานแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล ในปี พ.ศ. 2519 หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จสิ้น โดยกำหนดเอาสนามบินจังหวัดสตูลเป็นสนามแข่งขัน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดแข่งขัน 3 ประเภท คือ ว่าวเสียงดัง ว่าวขึ้นสูง และว่าวสวยงาม โดยจัดการแข่งขัน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2519 มีว่าวเข้าร่วมการแข่งขัน ประมาณ 50 ตัว และได้มีการจัดการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน




                  
  2) พิธีนิกะฮ์หรือพิธีกินเหนียว (พิธีการสมรส) ตามบัญญัติศาสนาอิสลาม การนิกะฮ์ หมายถึง การผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง เพื่อเป็นสามี ภรรยากัน โดยพิธีรสมรสตามหลักศาสนาอิสลาม

                  3) งานเทศกาลถือศีลกินเจ จัดในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี ณ ศาลจ้าวโป้เจ้กง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เทศกาลกินเจเป็นความเชื่อของชาวจีนถือเอาวันที่ 1 เดือน 9 ของทุกปี

                  4) ประเพณีลอยเรือของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ โดยมีการจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือช่วงเดือนพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน และได้ทำกันมาเป็นเวลานาน ผู้เริ่ม คือ“โต๊ะฮีหลี”ซึ่งชาวเลถือว่าเป็นพรรพบุรุษคนสำคัญ เพราะเป็นผู้บุกเบิกเกาะนี้เป็นคนแรก และเป็นที่เคารพของชาวเลเป็นอย่างยิ่งในขณะที่มีชีวิตอยู่

                 5) พิธีเข้าสุนัต สุนัต มาจากคำว่า สุนนะฮ (สุน – นะฮ) หมายถึง แนวหรือวิถีปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านศาสดามูฮำหมัด (ซ.ล)ในทุกกระบวนการ การเข้าสุนัตจึงหมายถึง การเข้าสู่ชีวิตตามแบบอย่างของท่านนบีมูฮำหมัด


                  6) ประเพณี ไหว้ผีโบ๋ (ผีหมู่ หรือ พวกผีทั้งหมด) นิยามศัพท์ภาษาถิ่นใต้ คำว่า “โบ๋” แปลว่า หมู่ พวก ประเพณีไหว้ผีโบ๋  เป็นงานประเพณีที่มีความสำคัญ โดยได้สืบทอดกันมาคู่กับอำเภอทุ่งหว้าตั้งแต่อดีตในยุคแรก ๆ การไหว้ ผีโบ๋ได้แยกกระทำเป็นตระกูล แต่ละตระกูลไป   ต่อมาเมื่อแต่ละตระกูลมีลูกหลานมากขึ้น  จึงได้มาทำพิธีไหว้ร่วมกันเป็นพิธีใหญ่เพียงครั้งเดียว การไหว้ผีโบ๋ (ผีหมู่) หมายถึง การไหว้ผีหัวหลาด (บริเวณตลาดหน้าโรงภาพยนตร์ทุ่งหว้าเก่า) ไหว้หน้าตลาด ไหว้กลางเมือง เพื่อทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว ไม่มีญาติคอยทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้นั้นเอง  

                  7) พิธีถือศีลอด ( ถือบวช) หมายถึงเดือน “รอมฏอน”หรือเดือน 9 ของปีฮิจเราะฮ์ศักราช (ฮศ) ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคนจะถิศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน เมื่อครบกำหนด 1 เดือนแล้ว ก็เป็นวันออกบวช หรือเรียกกันว่า “ฮารีรายอ”หรือ “วันอิดิลฟิฏรี”

                  8) วันรายอฮัจยี “อิดิลอัฏฮา”เป็นวันตรุษหลัง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอารเบีย หลังจากนั้นจะร่วมกันกุรบาน ( เชือดสัตว์ เช่น โค วัว แพะ และแกะ)เพื่อแจกจ่ายให้กับคนยากจน สัตว์ที่เชือดจะต้องมีลักษณะสวยงาม มีอวัยวะทุกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ คือไม่พิการอวัยวะสมประกอบ

                   9) การแข่งขันการตกปลา “ตะรุเตา – อาดัง ฟิชชิ่งคัพ”เป็นการแข่งขันตกปลาที่มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากมาย โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  มีการแห่ขบวนมัจฉา  การประกวดหุ่นปลา และการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดสตูล จัดเดือนมีนาคมของทุกปี

                 10) งานวันข้าวโพดหวานอำเภอท่าแพ เป็นงานประจำปีของอำเภอ ภายในงานมีการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อ คือ ข้าวโพดหวาน ซึ่งมีรสชาติหวานอร่อย จัดประมาณเดือนมีนาคม ของทุกปี

                 11) งานวันจำปาดะและของดีเมืองสตูล เป็นการแสดงสินค้าและผลิตผลด้านการเกษตร โดยเฉพาะผลไม่ที่สำคัญของจังหวัด โดยจัดเดือน กรกฎาคม ของทุกปี

                 12) มหกรรมอาหารจานเด็ดและของดีเมืองสตูล เป็นการแสดงฝีมือการทำอาหารพื้นบ้านของชาวสตูล ภายในงานมีอาหารจำหน่ายเป็นจำนวนมากล้วนเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ของจังหวัดสตูล โดยจะจัดงานประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี

                13) งานเทศกาลยอนหอยและวัฒนธรรมพื้นบ้านละงู จัดเดือนมกราคมของทุกปี เป็นเทศกาลประเพณีประจำถิ่นของชาวตำบลละงู สำหรับการเรียกว่าหอยยอนนั้น ก็เพราะเวลาหาหอยชนิดนี้ จะต้องใช้ไม้ไผ่เล็กๆ จุ่มปูน แล้วยอนไปตามรูหอย ภาษาท้องถิ่นของชาวตำบลละงู เรียกว่า "ยอนหอย" เมื่อเอาไม้จิ้มปูนแล้ว จำเป็นต้องแยงไปตามรูหอยซึ่งลึก ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ซึ่งหอยยอน จัดเป็นหอยเศรษฐกิจที่มีคุณค่าทางสังคมของชุมชนบ้านหัวหิน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นวิถีของคนในชุมชน เป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านมากกว่าเป็นอาชีพ ที่คนในท้องถิ่นได้ยึดถือและปฏิบัติกันมาต่อเนื่องนาน ซึ่งเวลาที่นิยมออกไปยอนหอย ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเช้า ระหว่าง 06.00-09.00 น. หรือช่วงเย็น ระหว่าง 16.00-18.00 น. เพราะแดดไม่ร้อนและเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัว4.    

 



 
 
 ® สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูล
 @ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนา โดย นายคำรณ รูบามา นักเทคโนโลยีสารสนเทศ