ประเพณีและวัฒนธรรม

    
แหล่งประวัติศาสตร์

จังหวัดสตูลมีแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญดังนี้
          1. เกาะตะรุเตา
          2. กุโบร์บ้านนาปริก
          
3. ตึกแถวตลาดทุ่งหว้า
          4. ตึกเก่าถนนบุรีวานิช

1. เกาะตะรุเตา
                      เกาะตะรุเตาได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อ 20 เมษายน 2517 ต่อมาองค์การยูเนสโกได้ประกาศให้เกาะตะรุเตาเป็นมรดกอาเซียน คือ เป็นสมบัติร่วมกันของชาวโลกที่ต้องร่วมมือกันดูแลรักษาให้คงไว้ต่อไป  
                      ตะรุเตาเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสตูลในจำนวนเกาะทั้งหมด 105 เกาะ มีเนื้อที่ประมาณ 151 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดราว 30 กิโลเมตรเศษ แต่ถ้าคิดระยะทางจากท่าเรือปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ถึงเกาะก็เพียง 16 กิโลเมตรเท่านั้น เกาะนี้อยู่ใกล้กับเกาะลังกาวีของมาเลเซีย ซึ่งมีระยะห่างกันเพียง 4.80 กิโลเมตร เกาะตะรุเตามีความสำคัญ คือใช้เป็นที่กักกันนักโทษ ระหว่าง พ.ศ. 2480-2490 นักโทษที่ถูกส่งตัวไปอยู่เกาะตะรุเตามี 2 พวกใหญ่ๆ คือ นักโทษทั่วไป กับนักโทษการเมือง นักโทษทั่วไปจะถูกส่งไปจากคุกหรือเรือนจำต่างๆ มักเป็นผู้ต้องหาสถานหนักหรือโทษขั้นอุกฤษฏ์ส่วนนักโทษการเมืองนั้น หมายถึงผู้ที่ถูกข้อหาหรือกระทำการเป็นกบฏต่อรัฐบาล หรือพวกที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปกครองหรือลัทธิการเมืองตรงกันข้ามกับฝ่ายรัฐบาล พวกนี้ส่วนใหญ่จะถูกส่งตัวไปจากเรือนจำบางขวาง
 

 เนื่องจากนักโทษทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันมาก นักโทษการเมืองคือนักโทษผู้ดี อดีตเคยรับราชการเป็นใหญ่โต เป็นเจ้านายมาก่อน มีความฉลาด มีการศึกษาสูงบางคนเคยผ่านต่างประเทศมีปริญญา ต่างกับนักโทษธรรมดาหรือนักโทษทั่วไป เป็นพวกที่มีการศึกษาต่ำ ด้อยการศึกษา จึงต้องแยกกัน ให้อยู่ร่วมกันไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการปกครองและบังคับบัญชา
                    ที่กักนักโทษ แบ่งออกเป็น 2 จุด คือ บริเวณอ่าวตะโละอุดัง ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเกาะลังกาวี ใช้เป็นที่กักกันนักโทษทั่วไป ใช้พื้นที่บริเวณอ่าวตะโละวาวเป็นที่กักกัน มีถนนเชื่อมห่างกันประมาณ 10 กิโลเมตร สิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือเป็นร่องรอยให้เห็นเช่น ถนนเชื่อมระหว่างที่กักกันทั้ง 2 อ่าว สิ่งก่อสร้างที่เป็นร่องรอยให้เห็นบริเวณบ้านพักเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอิฐหินเก่าๆเหลืออยู่ ทางอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้ปักป้ายแสดงแหล่งประวัติศาสตร์ได้ครบถ้วน ทั้งสองจุด 
                    หลังจากที่ทางราชการได้ประกาศตั้งเกาะตะรุเตาเป็นที่กักกันนักโทษเมื่อปีพ.ศ. 2480 และสถานที่กักกันได้ถูกสั่งปิดไปถึงประมาณปี พ.ศ. 2490 ตลอดระยะเวลา 9-10 ปีนั้น มีนักโทษจำนวนเกือบหมื่นคนถูกส่งตัวไปปล่อยเกาะเพื่อชดใช้และฝึกอาชีพที่นั่น คนที่พ้นโทษออกไปคนใหม่ก็เข้าวนเวียนกันอยู่อย่างนี้ กล่าวกันว่าระยะที่มีนักโทษสูงสุดบนเกาะมีประมาณ 2,000 คน



 
 
 ® สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูล
 @ กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนา โดย นายคำรณ รูบามา นักเทคโนโลยีสารสนเทศ