[x] ปิดหน้าต่างนี้
 


 
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ความรู้เกี่ยวกับ IT
หัวข้อเรื่อง : ผักและผลไม้อบกรอบ กินให้พอดีกับสุขภาพ

จันทร์ ที่ 24 เดือน มกราคม พ.ศ.2565

คะแนน vote : 47  

 

ผักและผลไม้อบกรอบ กินให้พอดีกับสุขภาพ

ขึ้นชื่อว่าผักและผลไม้ แน่นอนอุดมไปด้วยประโยชน์จากสารอาหารและวิตามินต่างๆ แต่พอแปรรูปมาเป็นขนมขบเคี้ยว ผักและผลไม้อบกรอบ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภค ประโยชน์จะยังมีอยู่หรือไม่ หรือต้องระวังอะไร

เปิดสาระความรู้เรื่องผักและผลไม้อบกรอบรับประทานอย่างไรให้เกิดประโยชน์ แนะนำโดย ผศ. นพ.นริศร ลักขณานุรักษ์ จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ดังนี้

ผักและผลไม้อบกรอบถือเป็นอาหารว่างที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน มีกรรมวิธีการผลิตโดยการนำผักและผลไม้ไปผ่านกระบวนการแปรรูปให้แห้งด้วยการแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) หรือทอดแบบสูญญากาศ เพื่อรีดน้ำออกจึงได้ผักและผลไม้สดที่แห้ง กรอบ และเก็บรักษาได้นานขึ้น

ประโยชน์ของผักและผลไม้อบกรอบ

- มีเส้นใยอาหารมาก

- เป็นการแปรรูปที่ทำให้ผักและผลไม้ยังมีวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดคงเหลืออยู่

- เป็นตัวเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้สดสามารถรับประทานได้ง่าย

วิธีรับประทานผักและผลไม้อบกรอบให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ

- ควรเลือกซื้อผักและผลไม้อบกรอบที่แปรรูปด้วยการแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) หรือทอดแบบสูญญากาศ เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำมันตกค้างจากการทอด

- ควรเลือกซื้อผักและผลไม้อบกรอบที่มีฉลากแสดงคุณค่าทางโภชนาการและผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเลือกชนิดผักและผลไม้อบกรอบที่ให้พลังงานต่ำและมีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว บรอกโคลีแคร์รอต กระเจี๊ยบเขียว

- ควรรับประทานผักและผลไม้อบกรอบหลากหลายชนิด เน้นผักหลากสี เพื่อให้ได้สารอาหารหลากหลายร่วมกับรับประทานอาหารหลักให้เพียงพอ โดยเฉพาะโปรตีน เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ นมไขมันต่ำ หรือถั่วต่าง ๆ

- ไม่ควรรับประทานผักและผลไม้อบกรอบมากเกินไปในแต่ละวัน เนื่องจากอาจได้รับพลังงานมากเกินไปได้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ชนิดที่ให้พลังงานสูง

- ไม่ควรรับประทานผักและผลไม้อบกรอบที่มีปริมาณเกลือ น้ำตาล หรือผงปรุงรสมากโดยสังเกตได้จากฉลากโภชนาการข้างบรรจุภัณฑ์

- ไม่ควรรับประทานผักและผลไม้อบกรอบทดแทนการรับประทานผักและผลไม้สดทั้งหมด

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: สสส.



เข้าชม : 416


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      ไข้เลือดออก (Dengue fever) 9 / ส.ค. / 2566
      “ไซยาไนด์” สารพิษอันตรายถึงชีวิต อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น 27 / เม.ย. / 2566
      Heat Stroke (โรคลมแดด) โรคที่เกิดช่วงหน้าร้อน 27 / เม.ย. / 2566
      แนะ 4 วิธี ป้องกันโรคฝีดาษลิง 26 / ก.ค. / 2565
      7 วิธี ง่าย ๆ ในการเริ่มลดไขมัน 18 / ก.ค. / 2565