[x] ปิดหน้าต่างนี้
 


 
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ความรู้เกี่ยวกับ IT
หัวข้อเรื่อง : ห่วงลดน้ำหนักผิดวิธี เสี่ยงขาดสารอาหาร

อังคาร ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ.2565

คะแนน vote : 52  

 

                                            ห่วงลดน้ำหนักผิดวิธี เสี่ยงขาดสารอาหาร

การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วด้วยการอดอาหาร หรือควบคุมอาหาร หากทำไม่ถูกวิธี อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้

ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่เด็กสาวอายุ 14 ปี ลดน้ำหนักด้วยการทำ Intermittent Fasting หรือไอเอฟ (IF) ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดระยะเวลาการกิน เพื่อลดน้ำหนัก โดยรับประทานอาหารเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน และงดกินอีก 23 ชั่วโมง ร่วมกับการกินแป้ง คาร์โบไฮเดรตต่ำ จนเกิดผลกระทบที่แสดงให้เห็นในค่าเลือดและการทำงานของร่ายกายหลายระบบ ว่า ที่ผ่านมาประชาชนหลายคนเลือกช่วงเวลาการอดอาหารไม่เหมาะสม ทำให้ร่างกายเกิดความหิว

ดังนั้นแนะนำให้เลือกช่วงเวลาให้เหมาะสม เช่น ช่วงเวลาที่ร่างกายยังไม่ต้องการสารอาหาร และให้ประเมินสภาพร่างกายของตนเองว่า มีโรคประจำตัวหรือไม่ รวมถึงต้องมีวัตถุประสงค์ในการทำ IF เช่น เพื่อลดน้ำหนัก หรือ ควบคุมอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า การทำ IF เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาพัก เพิ่มให้มีช่วงเวลาการเผาผลาญที่ยาวนานนั้น เหมือนกับการนอนหลับ การทำต้องทำอย่างสมดุล ไม่ใช่ให้เกิดความทุกข์ทรมาน ต้องมีการประเมินร่างกายก่อนด้วยการวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI หากเป็นช่วงวัยรุ่นที่กำลังมีการเจริญเติบโต ก็ต้องดูวัตถุประสงค์ควบคู่ไปด้วย จากนั้นประเมินสมดุลของร่างกาย เป็นระยะ หากมีความผิดปกติ รู้สึกไม่สบาย ควรเลิกทำ การทำต้องมีคุณภาพและสมดุลควบคู่กันไปเสมอ

"วัยเจริญเติบโต กลุ่มอายุ 12-15 ปี ที่อยู่ในภาวะอ้วน สามารถทำ IF ได้ ส่วนกลุ่มที่ร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ไม่ควรคุมอาหารด้วยวิธี IF เพราะจะทำให้ขาดสารอาหารได้" นพ.สุวรรณชัย กล่าวและว่า   อย่างไรก็ตาม ประชาชนกลุ่มไหนที่ต้องการคุมน้ำหนักด้วยวิธี IF ควรประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองและต้องไม่มีโรคประจำตัว หากมีข้อสงสัยเรื่องการทำ IF สามารถสอบถามได้ที่เว็บไซด์ของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข



เข้าชม : 346


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      ไข้เลือดออก (Dengue fever) 9 / ส.ค. / 2566
      “ไซยาไนด์” สารพิษอันตรายถึงชีวิต อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น 27 / เม.ย. / 2566
      Heat Stroke (โรคลมแดด) โรคที่เกิดช่วงหน้าร้อน 27 / เม.ย. / 2566
      แนะ 4 วิธี ป้องกันโรคฝีดาษลิง 26 / ก.ค. / 2565
      7 วิธี ง่าย ๆ ในการเริ่มลดไขมัน 18 / ก.ค. / 2565