[x] ปิดหน้าต่างนี้
 


 
 


เนื้อหา : บทความสาระน่ารู้
หมวดหมู่ : ความรู้เกี่ยวกับ IT
หัวข้อเรื่อง : “ไซยาไนด์” สารพิษอันตรายถึงชีวิต อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

พฤหัสบดี ที่ 27 เดือน เมษายน พ.ศ.2566

คะแนน vote : 32  

 

“ไซยาไนด์” สารพิษอันตรายถึงชีวิต อาการเป็นอย่างไร
พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  

ไซยาไนด์ (cyanide) สารพิษร้ายแรงที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต อาการแบบไหนที่เป็นพิษของไซยาไนด์ และมีวิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

ไซยาไนด์ คืออะไร

ไซยาไนด์ (cyanide) เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง สามารถพบได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น

ก๊าซไฮโดรเจน ไซยาไนด์ (hydrogen cyanide)

  • เกิดจากการเผาไหม้สารพลาสติก โพลียูริเทน (polyurethane) และหนังเทียม เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้เคราะห์ร้ายในเพลิงไหม้ เป็นก๊าซที่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์ขม และถ้าเป็นของเหลวจะมีลักษณะเป็นของเหลวใส ระเหยเป็นก๊าซได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง มีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์ขมเช่นกัน

สารละลาย

  • โพแทสเซียม ไซยาไนด์ (potassium cyanide) พบได้ในพืชหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่วชนิดต่างๆ อ้อย แอบเปิ้ล เผือก หน่อไม้ เมล็ดอัลมอลด์ เชอรี่ พีช มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง มะนาว เป็นต้น หากกินแบบดิบโดยไม่ผ่านความร้อนให้สุกเสียก่อน เมื่อร่างกายเผาผลาญจะทำให้ไซยาไนด์ในพืชเหล่านี้ออกมาเป็นพิษสู่ร่างกาย
  • โซเดียม ไซยาไนด์ (sodium cyanide) เป็นสารละลายที่ใช้ในการเคลือบเงา หรือเคลือบสีเหล็ก และเป็นส่วนประกอบในยาฆ่าแมลง มีลักษณะเป็นของแข็ง เป็นเกล็ดสีขาว และมีกลิ่นอัลมอนด์ขมอ่อนๆ 

    อาการเมื่อได้รับพิษจากไซยาไนด์

    หากได้รับพิษจากไซยาไนด์ จะปรากฏอาการขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยจะมีอาการดังต่อไปนี้

    อาการไม่รุนแรง

    • กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
    • หายใจลำบาก
    • ปวดหัว รู้สึกมึนงง วิงเวียน
    • คลื่นไส้ อาเจียน
    • ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จางๆ
    • รู้สึกระคายเคือง คันบริเวณจมูก คอ และปาก

    อาการรุนแรง

    • คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง
    • หายใจลำบาก
    • ชักหมดสติ
    • เสียชีวิตภายใน 10 นาที

    สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลัน ส่วนมากจะได้รับไซยาไนด์เข้าสู่ทางร่างกายด้วยการหายใจ การกิน และการซึมเข้าสู่ผิวหนัง หากได้รับไซยาไนด์เข้าไปปริมาณมากจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหายใจในระดับเซลล์ ทำให้เซลล์เสียชีวิตได้

    นอกจากอาการเฉียบพลันแล้วผู้ป่วยบางรายก็อาจได้รับไซยาไนด์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจนเกิดการสะสม และก่อให้เกิดพิษเรื้อรังได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ และเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ มักพบกับคนที่ทำงานในโรงงานแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และคนงานขัดเครื่องเงิน

    การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับไซยาไนด์

    • ได้รับทางการหายใจ: ควรให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน และอากาศบริสุทธิ์ ห้ามผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก และรีบส่งตัวผู้ป่วยให้แพทย์ทันที
    • ได้รับผ่านทางผิวหนัง: ก่อนทำการปฐมพยาบาลผู้ป่วยต้องสวมถุงมือป้องกัน จากนั้นให้ถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยที่เปื้อนไซยาไนด์ออก ล้างผิวหนังด้วยน้ำจำนวนมาก แล้วนำส่งแพทย์ทันที
    • ได้รับทางดวงตา: ขั้นตอนแรกให้รีบล้างไซยาไนด์ออกด้วยน้ำจำนวนมากเป็นเวลาหลายนาที หากใส่คอนแทคเลนส์ให้ถอดออก แล้วรีบส่งตัวให้แพทย์ทันที
    • ได้รับทางปาก: ให้รีบล้างปาก และให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย แต่ห้ามผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก และห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน จากนั้นรีบส่งแพทย์ทันที

    สิ่งสำคัญที่สุดเมื่อพบผู้ป่วยที่ได้รับพิษของไซยาไนด์ไม่ว่าจะทางใดก็ตามคือการรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพราะหากได้รับในปริมาณมากจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว

    ข้อมูลอ้างอิง: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)



เข้าชม : 413


ความรู้เกี่ยวกับ IT 5 อันดับล่าสุด

      ไข้เลือดออก (Dengue fever) 9 / ส.ค. / 2566
      “ไซยาไนด์” สารพิษอันตรายถึงชีวิต อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น 27 / เม.ย. / 2566
      Heat Stroke (โรคลมแดด) โรคที่เกิดช่วงหน้าร้อน 27 / เม.ย. / 2566
      แนะ 4 วิธี ป้องกันโรคฝีดาษลิง 26 / ก.ค. / 2565
      7 วิธี ง่าย ๆ ในการเริ่มลดไขมัน 18 / ก.ค. / 2565