รู้จักเรา.....
รู้จัก สำนักงาน กศน.จังหวัดสตูล " สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ " จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดสุดเขตแดนใต้ของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้าน ตะวันตกอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา และ 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา และ 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยเส้นทางรถยนต์ 973 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,807.522 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 1,754,701 ไร่ พื้นที่ส่วนที่เป็นเกาะประมาณ 105 เกาะ มีชายฝั่งทะเลยาว 144.80 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง
--------------------------------------------------------------------------------
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
และอำเภอปะเหลียนจังหวัดตรัง
ทิศตะวันออก ติดอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และรัฐเปอร์ลิส ประเทศ
มาเลเซีย
ทิศใต้ ติดรัฐเปอร์ลิสและรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก ติดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
โดยพื้นที่บนบกมีเทือกเขาบรรทัดและสันกาลาคีรีเป็นเส้นกั้นอาณาเขต ระหว่างจังหวัดสตูลกับจังหวัดอื่นๆ และประเทศมาเลเซีย
*********************************
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูล
วิสัยทัศน์
ประชาชนในจังหวัดสตูลได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้มีงานทำและมีอาชีพที่ยั่งยืน
พันธกิจ
1.จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
2.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3.จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพ ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนเพื่อการสร้างอาชีพ สร้างงาน และการมีรายได้ของประชาชน
4.พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
5.พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.ส่งเสริมการศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
7.สนับสนุนกิจกรรมตามโครงการพระราชดำริโดยยึดแนงทางพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา”
ภารกิจหลักของงานการศึกษานอกโรงเรียน
ภารกิจหลักของงานการศึกษานอกโรงเรียน คือ การจัดการศึกษาตลอดชีวิต สร้างคนให้มีคุณภาพ นั้น ได้แก่ จัดการศึกษาพื้นฐาน จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. จัดการศึกษาพื้นฐาน เป็นภารกิจสำคัญอันดับแรก เป็นการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียนด้วยรูปแบบวิธีการที่เหมาะสมและมีสาระหลักสูตรที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิต การทำงานและการศึกษาต่อเนื่อง ก่อให้เกิดชีวิตที่มั่นคงและสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษาจะครอบคลุมเนื้อหาสาระตั้งแต่การส่งเสริมการรู้หนังสือ การศึกษาในหลักสูตรเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาต่อเนื่องที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่ม เป้าหมายอย่างหลากหลาย รวมทั้งความรู้และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ การจัดกระบวนการเรียนรู้กำหนดให้มีกิจกรรมหลักเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 5 กิจกรรม ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยการพบกลุ่ม การเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) การทำโครงงาน การสอนเสริมและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว ได้กำหนด การวัดผลประเมินผลทุกกิจกรรม ซึ่งกำหนดการประเมินเป็น 3 ช่วง ได้แก่ การประเมินก่อนเรียน เพื่อทราบถึงพื้นความรู้ของผู้เรียน การประเมินระหว่างเรียน และการประเมินปลายภาคเรียน โดยกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างภาคเรียน 60 คะแนน ซึ่งประกอบ ด้วยผลงาน / ชิ้นงาน การนำเสนอผลงาน / การร่วมอภิปราย 30 คะแนน การทดสอบย่อย 10 คะแนน การทำโครงงาน 30 คะแนน และคะแนนปลายภาคเรียน 40 คะแนน
2. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพของบุคคลและกลุ่มบุคคล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในชีวิตที่ต่างกัน โดยมีสาระดังนี้
2.1 การเรียนรู้อาชีพแบบองค์รวมที่ประชาชน ครู กศน.และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
2.2 การออกแบบการเรียนรู้งานอาชีพตามลักษณะของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพในรูปแบบการฝึกทักษะอาชีพ การเข้าสู่อาชีพ การพัฒนาอาชีพและการพัฒนาอาชีพด้วยเทคโนโลยี
2.3 การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่บูรณาการดับวิถีชีวิต โดยใช้วงจรกระบวนการคิด ทำ จำ แก้ปัญหาและพัฒนา
2.4 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพที่พัฒนาศักยภาพของบุคคลและชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพ สร้างเครือข่ายอาชีพ มีระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้และประสบการณ์ การทำอาชีพภายใต้วัฒนธรรมของชุมชน มีกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันของชุมชน เป็นชุมชนที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและพัฒนาอาชีพ
3. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ ความสามารถของบุคคลเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความสุขตามสภาพและความสงบสุข ความปลอดภัยในสังคม โดย มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 เป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานของบุคคล เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมของตนและแก้ปัญหาสังคมของตนได้อย่างมีความสุข
3.2 เป็นการเรียนรู้โดยบูรณาการองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน
3.3 เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบโครงการ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยโดยมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความสามารถให้แก่บุคคล เพื่อมีทักษะชีวิตในการแก้ปัญหาเฉพาะด้าน ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่และแต่ละสถานการณ์
4. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้และทักษะจากการศึกษาที่ผู้เรียนมีอยู่ หรือได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนโดยมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตามวิถีทางการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการพัฒนาที่ยั่งยืน
การศึกษานอกโรงเรียน(กศน.)
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูล (สำนักงาน กศน.จังหวัดสตูล) เป็นสำนักงานบริการด้านการศึกษาในสังกัดราชการส่วนกลาง กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานศึกษาที่ต้อง ส่งเสริม กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ๗ แห่ง มีแหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดประชาชน ๗ แห่ง และ กศน.ตำบล ๓๖ แห่ง ศรช ๑ แห่ง มีบุคลากรทั้งรวมหมด ๑๔๐ คน ปีการศึกษา ๒๕๕๖ มีนักศึกษาทั้งหมด ๔๗๓๖ คน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสตูลมีบุคลากรที่ปฏิบัติงานระดับจังหวัดดังนี้ ผู้บริหาร ๑ คน ศึกษานิเทศก์ ๑ คน ลูกจ้างประจำ ๗ คน พนักงานราชการ ๗ คน จ้างเหมาบริการ ๘ คน รวมทั้งหมด ๒๔ คน และมีสถานศึกษาที่ต้อง ส่งเสริม กำกับ ดูแล ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้แก่
๑. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองสตูล มีแหล่งเรียนรู้ในสังกัดจำนวน ๑๓ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสตูล - กศน.ตำบลคลองขุด
- กศน.ตำบลตำมะลัง - กศน.ตำบลเกาะสาหร่าย
- กศน.บ้านควน - กศน.ตำบลควนขัน
- กศน.ตำบลเจ๊ะบิลัง - กศน.ตำบลตันหยงโป
- กศน.ตำบลปูยู - กศน.ตำบลเกตรี
- กศน.ตำบลฉลุง - กศน.ตำบลควนโพธิ์
- กศน.ตำบลพิมาน
มีบุคลากรประกอบด้วย
ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการ ๕ คน ลูกจ้างประจำ ๑ คน พนักงานราชการ ๒๔ คน
ลูกจ้างชั่วคราว ๑ คน และจ้างเหมาบริการ ๑ คน รวมทั้งหมด ๓๓ คน มีนักศึกษาตามระดับดังนี้ ระดับประถม ๔๒ คน ระดับ ม.ต้น ๖๐๓ คน ระดับ ม.ปลาย ๙๕๒ คน รวมนักศึกษาทั้งหมด ๑๕๙๗ คน
๒. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าแพ มีแหล่งเรียนรู้ในสังกัดจำนวน ๕ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอท่าแพ - กศน.ตำบลท่าแพ
- กศน.ตำบลแป-ระ - กศน.ตำบลสาคร
- กศน.ตำบลท่าเรือ
มีบุคลากรประกอบด้วย
ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการ ๒ คน ลูกจ้างประจำ ๑ คน พนักงานราชการ ๘ คน
และลูกจ้างชั่วคราว ๑ คน รวมทั้งหมด ๑๓ คน
มีนักศึกษาตามระดับดังนี้
ระดับประถม ๒๒ คน ระดับ ม.ต้น ๒๒๑ คน ระดับ ม.ปลาย ๒๙๕ คน รวมนักศึกษา
ทั้งหมด ๕๓๘ คน
๓. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอละงู มีแหล่งเรียนรู้ในสังกัดจำนวน ๘ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอละงู - กศน.ตำบลละงู
- กศน.ตำบลกำแพง - กศน.ตำบลน้ำผุด
- กศน.ตำบลเขาขาว - กศน.ตำบลปากน้ำ
- กศน.ตำบลแหลมสน ศรช.บ้านปากละงู
มีบุคลากรประกอบด้วย
ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการ ๒ คน พนักงานราชการ ๑๓ คน
ลูกจ้างชั่วคราว ๗ คน และจ้างเหมาบริการ ๒ คน รวมทั้งหมด ๒๕ คน
มีนักศึกษาตามระดับดังนี้
ระดับประถม ๑๙ คน ระดับ ม.ต้น ๓๕๗ คน ระดับ ม.ปลาย ๕๓๔ คน รวมนักศึกษา
ทั้งหมด ๙๑๐ คน
๔. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งหว้า มีแหล่งเรียนรู้ในสังกัดจำนวน ๖ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอทุ่งหว้า - กศน.ตำบลทุ่งหว้า
- กศน.ตำบลป่าแก่บ่อหิน - กศน.ตำบลขอนคลาน
- กศน.ตำบลทุ่งบุหลัง - กศน.ตำบลนาทอน
มีบุคลากรประกอบด้วย
ผู้บริหาร ๑ คน ลูกจ้างประจำ ๑ คน พนักงานราชการ ๙ คน และลูกจ้างชั่วคราว ๑ คน
รวมทั้งหมด ๑๒ คน
มีนักศึกษาตามระดับดังนี้
ระดับประถม ๑๖ คน ระดับ ม.ต้น ๒๑๑ คน ระดับ ม.ปลาย ๓๕๓ คน รวมนักศึกษา
ทั้งหมด ๕๘๐ คน
๕. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอมะนัง มีแหล่งเรียนรู้ในสังกัดจำนวน ๓ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอมะนัง - กศน.ตำบลนิคมพัฒนา
- กศน.ตำบลปาล์มพัฒนา
มีบุคลากรประกอบด้วย
ข้าราชการ ๑ คน พนักงานราชการ ๔ คน และลูกจ้างชั่วคราว ๑ คน จ้างเหมาบริการ ๑ คน รวมทั้งหมด ๗ คน
มีนักศึกษาตามระดับดังนี้
ระดับประถม ๘ คน ระดับ ม.ต้น ๘๙ คน ระดับ ม.ปลาย ๑๕๖ คน รวมนักศึกษาทั้งหมด ๒๕๓ คน
๖. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอควนกาหลง มีแหล่งเรียนรู้ในสังกัดจำนวน ๔ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอควนกาหลง - กศน.ตำบลทุ่งนุ้ย
- กศน.ตำบลควนกาหลง - กศน.ตำบลอุไดเจริญ
มีบุคลากรประกอบด้วย
ผู้บริหาร ๑ คน พนักงานราชการ ๗ คน และลูกจ้างชั่วคราว ๑ คน รวมทั้งหมด ๙ คน
นักศึกษาตามระดับดังนี้
ระดับประถม ๗ คน ระดับ ม.ต้น ๒๑๓ คน ระดับ ม.ปลาย ๑๐๒ คน รวมนักศึกษา
ทั้งหมด ๔๒๓ คน
๗. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอควนโดน มีแหล่งเรียนรู้ในสังกัดจำนวน ๕ แห่ง
- ห้องสมุดประชาชนอำเภอควนโดน - กศน.ตำบลควนโดน
- กศน.ตำบลย่านซื่อ - กศน.ตำบลควนสตอ
- กศน.ตำบลวังประจัน
มีบุคลากรประกอบด้วย
ผู้บริหาร ๑ คน ข้าราชการ ๑ คน ลูกจ้างประจำ ๑ คน และพนักงานราชการ ๗ คน
รวมทั้งหมด ๑๐ คน
นักศึกษาตามระดับดังนี้
ระดับประถม ๗ คน ระดับ ม.ต้น ๒๑๗ คน ระดับ ม.ปลาย ๒๑๑ คน รวมนักศึกษา
ทั้งหมด ๓๕๔ คน
เข้าชม : 13386 |