[x] ๏ฟฝิดหน๏ฟฝาต๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ
 
 

 

  

บทความสุขภาพ
ความดันโลหิตต่ำ

พฤหัสบดี ที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2554

คะแนน vote : 237  

มักมีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย แม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดี
 เป็นที่ทราบกันว่าโรคความดันโลหิตสูงนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จึงทำให้ผู้คนเอาใจใส่และให้ความสำคัญทว่าภัยของโรคความดันโลหิตต่ำนั้นคนทั่วไปมักไม่รู้เท่าทัน เรามักจะพบผู้ป่วยที่มีอาการวิงเวียนหน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่นแม้ว่านอนหลับและทานอาหารได้ดีตามปกติ อีกทั้งยังเสริมอาหารและวิตามินบำรุงร่างกายอย่างเต็มที่ ส่วนด้านการงานก็ไม่ได้เหน็ดเหนื่อยและไม่มีความกดดัน ทว่ายังคงรู้สึกอ่อนเปลี้ยเพลียแรง โดยเฉพาะหลักจากรับประทานอาหารมือกลางวันแล้วจะรู้สึกง่วงซึม เรี่ยวแรงหดหาย นั่งฟุบโต๊ะหาวหวอดๆ จนน้ำหูน้ำตาไหล ไม่มีสมาธิในการทำงานยิ่งไปกว่านั้นอาจมีอาการใจสั่น ขี้หนาว ในขณะที่เพื่อนร่วมงานล้วนคิดว่าอุณหภูมิจากเครื่องปรับอากาศกำลังพอเหมาะแต่ตนเองกลับรู้สึกว่าช่างหนาวเย็นจับใจจนต้องสวมเสื้อคลุมทับ แต่พอไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลกลับไม่พบความผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรตรวจวัดความดันโลหิตเพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นผลมาจากความดันโลหิตต่ำ

 

          อย่างไรถึงเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ

 

          โดยทั่วไปในทางการแพทย์ ความดันโลหิตของผู้ใหญ่ที่ต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) และความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท (MmHg) จะถูกจัดว่าเข้าข่ายความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะพบบ่อยในสตรีที่ร่างกายอ่อนแอ ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตต่ำ

 

          ความดันโลหิตต่ำมีชนิดใดบ้าง...

 

          ความดันโลหิตต่ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยความดันโลหิตต่ำชนิดเฉียลพลันหมายถึงว่า ความดันโลหิตต่ำลงอย่างฮวบฮาบจากเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะแสดงอาการหลัก ๆ คือ หน้ามืดและช็อคหมดสติ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นลมหรือหัวใจล้มเหลว แต่ภาวะความดันโลหิตต่ำที่เราพูดถึงกันโดยทั่วไปนั้นหายถึงความดันโลหิตต่ำชนิดเรื้อรัง ซึ่งแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้

 

          1.ความดันโลหิตต่ำที่เป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ทราบสาเหตุ: ส่วนใหญ่พบว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือรูปร่างที่อ่อนแอผอมบาง ซึ่งมักจะพบในหญิงสาวรูปร่างผอมเพรียวและผู้สูงอายุ บางรายไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ แต่ในรายที่เป็นมากอาจจะมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ใจสั่น วิงเวียน ศีรษะ ปวดศีรษะหรืออาจจะถึงขั้นเป็นลม โดยเฉพาะในหน้าร้อนที่อุณหภูมิสูงอาการจะยิ่งชัดเจนขึ้น

 

          2.ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนอิริยาบถ: หมายถึงความดันโลหิตจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนท่าทางจากการนอนมาเป็นการนั่งหรือยืนในทันที หรือมีการยืนนาน ๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติจนเกิดอาการเวียนศีรษะ ตาพร่า คลื่นไส้ ใจสั่น ปวดต้นคอ ปวดหลังฯลฯ

 

          3.ความดันโลหิตต่ำจากการใช้ยาหรือการเจ็บป่วยของร่างกาย: เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ โรคมะเร็ง โรคตับอักเสบ วัณโรค โรคหัวใจรูมาติก ขาดสารอาหารเรื้อรัง ยาลดความดันโลหิต ยากกล่อมประสาท ยาต้านโรคซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงใช้ยาความดันมากเกินขนาดเพื่อให้ความดันโลหิตต่ำลงโดยเร็วและลดต่ำลงมากยิ่งขึ้น ก็จะส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างเฉียบพลันหลังปัสสาวะ เนื่องจากปัสสาวะถูกขับออกไปทำให้ความดันในช่องท้องลดต่อลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่กลับไปสู่หัวใจลดน้อยลงด้วย ทำให้เกิดอาการเป็นลมเนื่องจากความดันโลหิตต่ำลงอย่างเฉียบพลันซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้สูงอายุตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึง

 

          โรคความดันโลหิตต่ำมีอาการอย่างไร

 

          ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำบางรายจะไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ แต่บางรายจะมีอาการหูอื้อ ปวดศีรษะ ตาลาย ปวดหลังและบั้นเอว มือเท้าเย็น อ่อนเพลีย สมองล้า ขี้หลงขี้ลืม ขาดสมาธิ หรือรู้สึกว่าสมองถูกบีบคั้น ปวดแสบปวดร้อน หรือท้องเดิน ท้องผูก มีแก๊สสะสมในลำไส้ ท้องอืดท้องเฟ้อ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือประจำเดือนมาผิดปกติ ฯลฯ

 

          อันตรายจากความดันโลหิตต่ำไม่อาจมองข้ามได้

 

          คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าความดันโลหิตและไขมันในเลือดนั้นเหมือนกันคือยิ่งต่ำยิ่งดี ทว่าแม้จะต่ำก็ต้องมีขีดจำกัด หากความดันโลหิตต่ำเกินไปย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนช้าลง เลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ง่ายต่อการเกิดลิ่มเลือดทำให้หลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดฝอยส่วนปลายในร่างกายขาดเลือดไปเลี้ยง รวมท้งเกิดการคั่วของคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมและที่สำคัยคือ อาจจะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสมองเนื่องจากขาดออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หน้ามืด ขี้หลงขี้ลืมสมองล้า ไม่มีสมาธิฯลฯ หากไม่มีการบำบัดอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ความสามารถในกาองมองเห็นและการได้ยินลดลง อ่อนเพลียซึมเศร้าก่อให้เกิดอาการอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุหรือเป็นตัวเร่งอาการให้หนักขึ้นหรืออาจส่งผลให้หกล้มเนื่องจากเป็นลม ทำให้กระดูกหักได้ อีกทั้งเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดด้วย

 

          การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดโรคความดันโลหิตต่ำอย่างไร...

 

          การแทพย์จีนได้จัดโรคความดันโลหิตต่ำให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากการพร่องลงของพลังซี่และเลือดในร่างกายหรือที่เรียกว่าชี่พร่อง-เลือดพร่องนั่นเอง เลือดกับพลังชี่มีคุณสมบัติต่างกันคือ เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งและให้ความชุ่มชื้น ส่วนพลังชี่เนหยางชอบความเคลื่อนไหวและให้ความอบอุ่น ความสัมพันธ์ของเลือดกับพลังชี่แท้ที่จริงแล้วก็คือความสัมพันธ์ของหยิน-หยางในระบบการไหลเวียนของเลือดนั่นเอง

 

          -เลือดกับพลังชี่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน; กระบวนการเกิดและการสร้างเลือดต้องอาศัยพลังชี่และการเคลื่อนไหวของพลังชี่ ถ้าพลังชี่สมบูรณ์ เลือดก็จะสร้างขึ้นมาได้อย่างเพียงพอ และในทางกลับกันพลังชี่ก็ต้องอาศัยเลือดไปหล่อเลี้ยงและให้ความชุ่มชื้น การไหลเวียนของเลือดจะนำพาพลังชี่ไปสู่ทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย ถ้าเลือดพร่องลง พลังชี่ก็จะพร่องตามไปด้วย ทำให้ชี่พร่องและเลือดพร่องมักจะเกิดขึ้นร่วมกันอยู่เสมอ

 

          -พลังชี่ผลักดันการไหวเวียนของเลือด: เลือดเป็นหยินชอบอยู่นิ่งไม่สามารถไหลเวียนได้เองต้องอาศัยแรงผลักดันจากพลังชี่ จึงกล่าวได้ว่า พลังวิ่งเลือดเดิน พลังนิ่งเลือดหยุด ถ้าพลังชี่พร่องลง เลือดก็จะไหลเวียนช้าลง ทำให้ชี่และเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงร่างกายอย่างทั่วถึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ อวัยวะต่าง ๆ ได้รับการหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอจนเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้

 

          การแพทย์แผนจีนจึงนิยมให้วิธีบำรุงชี่-บำรุงเลือดเพื่อบำบัดภาวะความดันโลหิตต่ำ เมื่อชี่-เลือดในร่างกายสมบูรณ์ขึ้น ความดันโลหิตก็จะค่อย ๆ กลับสู่ภาวะปกติอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคความดันโลหิตต่ำก็จะทุเลาลงหรือหายไปในที่สุด

 

          วิธีการดูแลร่างกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ

 

          1.วัดความดัน: หมั่นวัดระดับความดันโลหิตของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตในร่างกาย

 

          2.พักผ่อนให้เพียงพอ:  ความเหน็ดเหนื่อย การนอนหลับไม่เพียงพอต่างก็ยิ่งทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตรากตรำทำงานเกินควร หลีกเลี่ยงการนอนดึก และเวลานอนหลับไม่ควรนอนหนุนหมอนที่ต่ำเกินไป

 

          3.หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ หรือเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็วเกินไป: การเก็บของไม่ควรก้มศีรษะลงโดยตรงแต่ควรทรุดตัวนั่งยอง ๆ ลงก่อน ยามตื่นนอนไม่ควรลุกยืนขึ้นมาในทันทีทันใด แต่ควรรอให้แน่ใจว่าร่างกายเข้าที่เข้าทางแล้วจึงค่อยๆ ลุกขึ้น

 

          4.ใส่ใจสภาพแวดล้อมและการแต่งกาย: ไม่ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศร้อนอบอ้าวนานเกินไป เพราะจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตต่ำลง นอกจากนี้การผูกเน็คไทแน่นเกินไป การสวมเสื้อที่มีปกเสื้อสูงหรือคอเสื้อแคบเกินไปอาจจะไปกดทับหลอดเลือดแดงบริเวณต้นคอส่งผลให้ความดันต่ำลงจนหน้ามืดเป็นลมได้

 

          5.เพิ่มสารอาหารให้เพียงพอ: ผู้ที่มีแนวโน้มเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำนั้น หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตยิ่งต่ำลงไปอีก แต่หากเสริมอาหารให้เพียงพอจะช่วยให้ความดันโลหิตเข้าใกล้ระดับปกติมากยิ่งขึ้นอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ก็มีโอกาสที่จะลดลงหรือหายไปได้

          6.ลดการรับปรทานอาหารที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง: เช่น เชลเลอรี ฟักเขียว ถั่วเขียว มะระ หอมหัวใหญ่ สาหร่ายทะเล หัวไชเท้า เป็นต้น

 

          7.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายทำให้ระบบประสาทเกิดความสมดุล หลอดเลือดหัวใจแข็งแรงทั้งยังรักษาความดันโลหิตต่ำให้ดีขึ้น

 

          8.เลือกประเภทการออกกำลังอย่างเหมาะสม: ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนอิริยาบท ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ต้องยืนนาน ๆ หรือต้องเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ ส่วนผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจากโรคภัยไข้เจ็บในร่างกายก่อนการออกกำลังควรตรวจสอบสมรรถภาพร่างกายก่อนทางที่ดีควรออกกำลังภายใต้คำแนะนำของแพทย์และครูผู้เชี่ยวชาญ

 

          9.ใช้ยาอย่างระมัดระวัง: หากต้องไปพบแพทย์เนื่องจากอาการเจ็บป่วยใด ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าว่าตนมีอาการความดันโลหิตต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำลงไปอีก

         

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก



เข้าชม : 2061


บทความสุขภาพ 5 อันดับล่าสุด

      แอโรบิค 21 / เม.ย. / 2554
      ความดันโลหิตต่ำ 21 / เม.ย. / 2554
      ใครที่ชอบทานเต้าหู้ 19 / มิ.ย. / 2551
      อาบน้ำให้หมดจด ห่างไกลโรคภัย 27 / เม.ย. / 2551
      สะอึก (hiccup) 4 / ก.พ. / 2551




ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้ [กด F5 ถ้ารหัสไม่ชัดเจน]
ไอคอน : ย่อหน้า จัดซ้าย จัดกลาง จัดขวา ตัวหนา ตัวเอียง เส้นใต้ ตัวยก ตัวห้อย ตัวหนังสือเรืองแสง ตัวหนังสือมีเงา สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีชมพู สีเทา
อ้างอิงคำพูด เพิ่มเพลง เพิ่มวีดีโอคลิป เพิ่มรูปภาพ เพิ่มไฟล์ Flash เพิ่มลิงก์ เพิ่มอีเมล์
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ mocyc@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล
หมู่ 4 ตำบลควนกาหลง  อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล  91130  โทรศัพท์ 074-752070
โทรสาร  074-752070  kk_satun@hotmail.com

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05   

 
pg slot
slot
slot demo
pg slot
pg slot
pg slot
pg soft
slot
pg slot
slot
pg slot
slot
pg slot online
slot online
dv188
slot demo
dv188
dv188